News & Update

กกพ.เปิดรับผู้ร่วมโครงการ ERC Sandbox เฟส 2 เพิ่มทางเลือกผู้ใช้พลังงาน

กกพ.เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ ERC Sandbox เฟส 2 มุ่งเป้าหมายเพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้ใช้พลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการให้บริการทางพลังงาน รองรับธุรกิจพลังงานรูปแบบใหม่ๆ สู่การกำหนดแนวทางพัฒนาการกำกับดูแลนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่าสำนักงาน กกพ. เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน (ERC Sandbox) เฟส 2

โดยในเฟสที่ 2 จะเป็นการทดสอบนวัตกรรมร่วมกันระหว่าง กกพ. และผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะเน้นรูปแบบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ ระบบ เครื่องมือ หรือบริการด้านพลังงานที่ยังไม่เคยนำมาใช้งาน หรือถ้าหากมีการใช้งานในท้องตลาดแล้ว ก็จะต้องมีความแตกต่างจากรูปแบบที่เป็นอยู่ ทั้งหมดจะต้องมุ่งเป้าหมายเพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้ใช้พลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการให้บริการทางพลังงาน รองรับธุรกิจพลังงานรูปแบบใหม่ๆ สอดคล้องกับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางพัฒนาการกำกับดูแลนวัตกรรมพลังงานสะอาด และสอดรับกับหลักเกณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

“กกพ. เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบให้ประกาศโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน (ERC Sandbox) ระยะที่ 2 โดยเน้นเรื่องการพัฒนานวัตกรรมในธุรกิจพลังงานสะอาดเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อเตรียมวางโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือ และแนวทางการกำกับดูแลในการขับเคลื่อนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย โดยคำนึงถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบกิจการพลังงาน ตลอดจนผู้ใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมการค้า และการลงทุนในระดับสากล ในยุคการเปลี่ยนผ่านพลังงานสู่พลังงานคาร์บอนต่ำ หรือ Energy Transition และลดภาวะโลกร้อน ให้ได้ผลอย่างยั่งยืน” นายคมกฤช กล่าว

สำหรับคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการจะจำกัดสถานะองค์กร เฉพาะหน่วยงานของรัฐ หรือ นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือ สถาบันการศึกษา โดยสามารถยื่นสมัครเข้าร่วมโครงการเพียงผู้เดียวหรือเป็นกลุ่มความร่วมมือก็ได้ พร้อมกับได้กำหนดขอบเขตกิจกรรมที่จะมีการพิจารณาภายใต้โครงการดังต่อไปนี้

  1. การศึกษาในโครงการ ERC Sandbox ระยะที่ 1 ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ERC Sandbox ระยะที่ 2 ซึ่งผู้ดำเนินโครงการประสงค์จะนำมาปรับปรุงพัฒนาและต่อยอดเพิ่มเติมตามกรอบกำลังการผลิตเพื่อการทดสอบที่ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบ

  2. การทดสอบแพลตฟอร์ม ซึ่งหมายถึง เว็บไซต์หรือแอพลิเคชัน โปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ หรือชุดวิธีการคำนวณทางคอมพิวเตอร์ (computer-based algorithm) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ (ตลาดซื้อขายออนไลน์) หรือนวัตกรรมการให้บริการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน/คาร์บอนเครดิต/ใบรับรองสิทธิการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ซึ่งรวมถึงระบบทดสอบกระบวนตรวจวัด รายงาน และตรวจสอบ (Measurement, Reporting and Verification: MRV) เพื่อการพัฒนากฎเกณฑ์หรือข้อกำหนดเพื่อความโปร่งใสของตลาด ใน 2 รูปแบบ ดังนี้

  2.1 การดำเนินการแบบมุ่งเป้า ผ่านแพลตฟอร์มของหน่วยงานภาครัฐหรือสมาคมที่เป็นองค์กรกลางในการพัฒนาระบบดังกล่าว

  2.2 การดำเนินการแบบเปิดกว้าง โดยพิจารณาจากข้อเสนอและความพร้อมของผู้เข้าร่วมโครงการ รวมถึงรูปแบบของการทดสอบแพลตฟอร์มที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ERC Sandbox ระยะที่ 2

  3. การทดสอบนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบสมาร์ทกริดหรือการเพิ่มความยืดหยุ่นของโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและรองรับรูปแบบธุรกิจซื้อขายพลังงานไฟฟ้ารูปแบบใหม่ๆ รวมถึงการทดสอบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้หรือการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าสำหรับบุคคลที่สาม (Third Party Access) และการกำหนดอัตราค่าบริการที่เกี่ยวข้อง (Wheeling Charge)

  4. การทดสอบการใช้สัญญารับซื้อไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA) รูปแบบใหม่ๆ เช่น Virtual PPA , Sleeved PPA (Utility Green Tariff แบบเจาะจงที่มา) เป็นต้น ในการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่สอดคล้องกับมาตรการที่ประเทศต่างๆ นำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และรองรับการใช้พลังงานหมุนเวียนตามกลไกการลดก๊าซเรือนกระจก เช่น RE100 เป็นต้น

  5. การทดสอบรูปแบบหรือแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการกำกับดูแลนวัตกรรมพลังงานในด้าน Green Innovation, Green Regulation ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ERC Sandbox ระยะที่ 2

พร้อมกันนี้ได้กำหนดกรอบระยะเวลาแผนงาน และการพิจารณาดังนี้

กิจกรรมกำหนดระยะเวลา
1.  การยื่นข้อเสนอโครงการวันที่ 1 – 30 มิถุนายน 2565
2.  การสัมมนาชี้แจงโครงการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวันที่ 16 มิถุนายน 2565
3.  ประกาศรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกภายใน 45 วัน หลังจากปิดรับสมัคร
4.  ลงนามบันทึกข้อตกลงการดำเนินโครงการภายใน 1 เดือน หลังจากประกาศผลการคัดเลือก

Source : eFinanceThai.com

เนื้อหาน่าสนใจ :  "ภาษีคาร์บอน" ใกล้ได้ใช้แล้ว สรรพสามิตเปิด 5 หลักคิด จัดเก็บเป็นธรรม

ปลัดพลังงานเร่งผลักดันลดใช้พลังงานภาครัฐ 20%

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการประหยัดพลังงานภายใต้กรอบนโยบายของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) ในวันนี้ มีเป้าหมายที่จะให้พลังงานจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านพลังงานให้สามารถดำเนินงานตามนโยบายที่ได้รับจากส่วนกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รับมือวิกฤตพลังงานรอบใหม่ พิษสหรัฐ-จีน สะเทือนค่าขนส่ง LNG โลก

โลจิสติกส์สายเรือผ่านช่องแคบไต้หวันสะเทือนพิษจีน-สหรัฐ “หอการค้าไทยในจีน-นักวิชาการ” เตือนรับมือวิกฤตต้นทุนพลังงานรอบใหม่ ดันต้นทุนขนส่ง-ประกันการเดินทางเรือพุ่ง สินค้ากลุ่มพลังงาน “น้ำมัน-LNG” ราคาขึ้น ด้าน กกพ.รับต้นทุนนำเข้า LNG…

Leave a Reply