News & Update

เอกชนอัดรัฐขึ้นค่าไฟครัวเรือนสวนทางต้นทุนลดลง แนะให้เยียวยาลดค่าใช้จ่าย ปชช.

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เคาะค่าไฟงวด พฤษภาคม-สิงหาคม 2566 อัตรา 4.77 บาทต่อหน่วย เป็นอัตราเดียวทั้งครัวเรือนและเอกชน นั้น ภาคเอกชนมองว่ามติของ กกพ. ที่ออกมา พิจารณาความเหมาะสม เพื่อที่จะสะท้อนต้นทุนต่างๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด สำหรับการลดราคาค่าไฟของภาคเอกชนจาก 5.33 บาทต่อหน่วย เป็น 4.77 บาทต่อหน่วย มองว่าใกล้เคียงกับ การสำรวจความคิดเห็นของภาคเอกชนว่าต้องการ อยากเห็นราคาพลังงานที่ไม่เพิ่มไปมากกว่านี้ เพื่อไม่ให้ต้นทุนภาคการผลิตเพิ่มสูงขึ้น จนนำไปสู่การปรับราคาสินค้าซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อและเป็นการผลักภาระให้กับภาคประชาชนในท้ายที่สุด

นายสนั่นกล่าวต่อว่า ส่วนค่าไฟภาคประชาชนปรับขึ้นจาก 4.72 บาทต่อหน่วย เป็น 4.77 บาทต่อหน่วย ในระยะต่อไปรัฐบาลจะต้องมีมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับภาคประชาชน เชื่อว่าจากแนวโน้มค่าก๊าซธรรมชาติน่าจะปรับลดลง รัฐบาลควรทบทวนและปรับมาตรการโดยการลดค่าไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศ เห็นว่าภาครัฐควรพิจารณาให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการหารือและร่วมกำหนดอัตราค่าไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และเป็นแนวทางที่ทุกภาคส่วนเห็นพ้องในทิศทางเดียวกันต่อไป

ขณะที่นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังเพราะไม่ได้ช่วยครัวเรือนเลย ทำไมครัวเรือนต้องจ่ายแพงขึ้นแค่ 5 สตางค์ ทั้งๆ ที่รอบจากนี้ไปเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ทิศทางพลังงานของโลกก็ลง ทำไมภาครัฐไม่ปรับสมมุติฐานราคาให้เป็นบวกกับผู้บริโภคมากขึ้น อีกทั้งงวดนี้ราคาค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ลงเพราะปัจจัยภายนอก อาทิ ค่าเงินและราคาพลังงานทั่วโลกเป็นหลัก ไม่ได้มีกลไกแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างและหาทางเลือกอื่นเลย นอกจากก๊าซในอ่าวไทยที่เพิ่มขึ้น

“การคิดค่าเอฟทีในช่วงพลังงานและเศรษฐกิจโลกผันผวน รัฐควรเปลี่ยนจาก 3 งวดต่อปี งวดละ 4 เดือน เป็น 6 งวดต่อปี หรือทุก 2 เดือนจะดีกว่าไหม เพื่อให้การคำนวณต้นทุนค่าไฟฟ้ารวดเร็ว แม่นยำมากขึ้น” นายอิศเรศกล่าว

Source : มติชนออนไลน์

สกนช.ขีดเส้นยกเลิกชดเชยราคาเชื้อเพลิงชีวภาพภายในปี 2569

สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) ขีดเส้นยกเลิกชดเชยราคาเชื้อเพลิงชีวภาพไม่เกินปี 2569 โดยเลื่อนไปจากกำหนดเดิม 2 ปี เพื่อให้เกษตรกร, ผู้ผลิตไบโอดีเซลและเอทานอลเตรียมความพร้อม ด้านผู้ผลิตเอทานอล ชี้ต้องปรับตัวหันไปส่งออกเอทานอลหรือนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มโดยผลิตพลาสติกชีวภาพแทน

ปตท.-ตรีเพชรอีซูซุเซลส์-มิตซูบิชิคอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) ผนึกกำลังผุดโปรเจคทดสอบรถพลังงานสะอาด

ปตท.-ตรีเพชรอีซูซุเซลส์-มิตซูบิชิคอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) ผนึกกำลังผุดโปรเจคทดสอบรถพลังงานสะอาดเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน  เมื่อเร็ว ๆ นี้ – ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท…

Leave a Reply