News & Update

กกพ.เปิดค่าไฟฟ้า ม.ค.-เม.ย. 2567 พุ่ง 4.68-5.59 บาทต่อหน่วย พร้อมรับฟังความเห็นประชาชน 10-24 พ.ย.นี้

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เผยค่าไฟฟ้างวด ม.ค.-เม.ย. 2567 พุ่งเกิน 4 บาทต่อหน่วย เนื่องจากค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) เพิ่มขึ้นเป็น 64.18 สตางค์ต่อหน่วย รวมกับค่าไฟฟ้าฐานอีก 3.78 บาทต่อหน่วย และยังต้องใช้หนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) อีก 95,777 ล้านบาท โดย กกพ. ได้จัดทำอัตราค่าไฟฟ้าใน 3 กรณี แบ่งเป็นกรณีแรกคืนหนี้ กฟผ.ทั้งหมด ส่งผลค่าไฟฟ้าแตะ 5.59 บาทต่อหน่วย, กรณีที่ 2 คืนหนี้ กฟผ. 3 งวด ค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 4.93 บาทต่อหน่วย และกรณีที่ 3 คืนหนี้ กฟผ. 6 งวด ค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 4.68 บาทต่อหน่วย พร้อมนำรายละเอียดเปิดรับฟังความเห็นประชาชนระหว่าง 20-24 พ.ย. 2566 นี้

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นค่าไฟฟ้างวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2567 ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 10 – 24 พ.ย. 2566 ก่อนจะสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการ และนำไปหารือกับภาครัฐเพื่อพิจารณาแนวทางกำหนดราคาค่าไฟฟ้าต่อไป

โดยที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ของ กกพ. เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2566 เห็นชอบผลการคำนวณประมาณการค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) งวดเดือน ม.ค. – เม.ย. 2567  โดยค่า Ft เพิ่มเป็น 64.18 สตางค์ต่อหน่วย แต่เนื่องจากที่ผ่านมาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้แบกรับภาระต้นทุนค่าไฟฟ้าแทนประชาชน จนปัจจุบันมียอดหนี้ที่ประชาชนต้องจ่ายคืน กฟผ. อยู่ที่ 95,777 ล้านบาท ดังนั้น กกพ. จึงได้จัดทำอัตราค่าไฟฟ้าแบ่งเป็น  3 กรณี เพื่อเปิดรับฟังความเห็นประชาชน ได้แก่

กรณีที่ 1 (จ่ายคืนหนี้ กฟผ.ทั้งหมด) แบ่งเป็นค่า Ft จำนวน 64.18 สตางค์ต่อหน่วย และจ่ายหนี้คืน กฟผ.ทั้งหมด 95,777 ล้านบาทในงวดเดียว ทำให้ค่า Ft รวมเป็น 216.42 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วยแล้ว ทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) งวด ม.ค.-เม.ย. 2567 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5.95 บาทต่อหน่วย

กรณีที่ 2 (จ่ายคืนหนี้ กฟผ.ภายใน 1 ปี) แบ่งเป็นค่า Ft จำนวน 64.18 สตางค์ต่อหน่วย และจ่ายหนี้คืน กฟผ.จำนวน 95,777 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 3 งวดๆ ละจำนวน 31,926 ล้านบาท รวมเท่ากับค่า Ft จะอยู่ที่ 114.93 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) งวด ม.ค.-เม.ย. 2567  เพิ่มขึ้นเป็น 4.93 บาทต่อหน่วย

กรณีที่ 3 (จ่ายคืนหนี้ กฟผ.ภายใน 2 ปี) แบ่งเป็นค่า Ft จำนวน 64.18 สตางค์ต่อหน่วย และจ่ายหนี้ กฟผ. จำนวน 95,777 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 6 งวดๆ ละจำนวน 15,963 ล้านบาท รวมเท่ากับค่า Ft จะอยู่ที่ 89.55 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) งวดเดือน ม.ค. – เม.ย. 2567 เพิ่มขึ้นเป็น 4.68 บาทต่อหน่วย

นายคมกฤช กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันกำลังผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยยังอยู่ระหว่างปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 200-400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเป็น 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในเดือน เม.ย. 2567 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อมาชดเชยก๊าซในอ่าวไทย ซึ่งหากมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจะทำให้ต้องนำเข้า LNG เพิ่มมากขึ้นอีกตามไปด้วย

นอกจากนี้สถานการณ์สงครามรัสเซียกับยูเครนที่ยังยืดเยื้อประกอบกับสงครามอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมันดิบดูไบ และราคา LNG มีความผันผวนสูงจึงมีความเสี่ยงที่ต้นทุนค่าไฟฟ้าในรอบเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2566 และ ม.ค. – เม.ย. 2567 จะเปลี่ยนแปลงไปจากประมาณการ

อย่างไรก็ตาม กกพ. จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการต้นทุนค่าเชื้อเพลิงให้มีประสิทธิภาพในราคาที่เหมาะสม มีความมั่นคง และเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ต่างๆที่อาจเปลี่ยนแปลงไป  นอกจากนี้ สำนักงาน กกพ. ยังคงเรียกร้องให้ประชาชนช่วยกันประหยัดการใช้ไฟฟ้าเพื่อลดการนำเข้า LNG และลดความผันผวนของราคาพลังงาน

Source : Energy News Center

แนวคิดใหม่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบเร่งด่วนช่วยลดต้นทุนลงได้ 20%

พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่กำลังถูกนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดบริษัท 5บี (5B) ประเทศออสเตรเลียได้พัฒนาวิธีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบเร่งด่วน การติดตั้งง่ายและมีความรวดเร็วมากขึ้นใช้แรงงานเพียง 10 คน สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาดเท่าสนามฟุตบอล ผลิตกระแสไฟฟ้าได้…

Mazda มีแววจับมือ Panasonic ทำแบตเตอรี่ EV รุ่นใหม่ พัฒนารถยนต์ไฟฟ้า

Mazda Motor บริษัทรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น กำลังพูดคุยกับ Panasonic Energy ในการพัฒนาแบตเตอรี่ EV เพื่อใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าของมาสด้าในอนาคต Mazda…

Stella Terra รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ คันแรกของโลกที่วิ่งได้ไกลถึง 1,000 กม.

Stella Terra รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์คันแรกของโลกที่วิ่งไกลได้กว่า 1,000 กิโลเมตรโดยไม่ต้องแวะชาร์จแม้แต่ครั้งเดียว มาดูกันว่ารถคันนี้จะเจ๋งแค่ไหน และมีการใช้เทคโนโลยีอะไรที่น่าสนใจบ้าง Stella Terra ถือเป็นรถพลังงานแสงอาทิตย์คันแรกที่วิ่งได้ระยะทางไกลกว่า 1,000…

Leave a Reply