ใครกำลังมองหาจุดทิ้งขยะง่าย ๆ ใกล้ตัวมาทางนี้ AIS เปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่ E-Waste+ เช็กจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ใกล้บ้านง่าย ๆ พร้อมนำส่งไปกำจัดให้อย่างถูกวิธี ใช้ยังไง ไปดู
คุณทุกคนที่กำลังอ่านเนื้อหานี้ คุณกำลังอ่านผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทใดกันอยู่เหรอ? โทรศัพท์มือถือ โน๊ตบุ๊ค ไอแพด หรือคอมพิวเตอร์ หรือหูฟังที่คุณอาจกำลังฟังเพลงโปรดไปด้วย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นมานานหลายสิบปี เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในการให้ความบันเทิง และการสื่อสารทางไกล
แต่อุปกรณ์เหล่านี้ก็มีวันหมดอายุใช้งาน มีพังบ้าง มีหายไปบ้าง ในอดีตเวลาเราจะทิ้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ เรามักจะเอาไปขายให้ซาเล้งหรือรถรับซื้อใช่ไหม แต่เราไม่เคยรู้เลยว่าปลายทางจริง ๆ ของมันเป็นอย่างไร แค่ไปให้พ้นตัวเราก็พอ ปกติ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แม้จะถูกทิ้งแต่มันก็ยังมีค่าเสมอสำหรับคนรับซื้อของเก่า เพราะภายในยังมีของมีค่า เช่น ทอง ทองแดง ที่ยังคงมีมูลค่าในตัวของมันอยู่
แต่ความมีค่าของมันก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน จากการปนเปื้อนของสารพิษที่ออกมาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งได้สำหรับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับอุปกรณ์เหล่านี้มาก ๆ
อีกทั้ง ในปัจจุบัน แน่นอนว่าเทคโนโลยีได้รังสรรค์ความทันสมัยมาเสิร์ฟถึงมือผู้บริโภคอยู่บ่อยครั้งและต่อเนื่อง จนเรียกได้ว่าเป็น Fast Fashion ของวงการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็ว่าได้ มือถือค่ายนั้น ค่ายนี้เปิดตัวใหม่ต้องรีบพุ่ง ของมันต้องมี ทำให้ปริมาณของมือถือที่ใช้งานประเดี๋ยวประด๋าวถูกทิ้งเยอะมากขึ้น
จุดทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทิ้งที่ไหนดี E-Waste+ จัดให้ ง่าย สะดวกแถมช่วยโลกรวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ทนทาน ราคาถูกก็เป็นที่นิยมเช่นเดียวกัน จนทำให้ทุกวันนี้เราก่อปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้นแบบไม่รู้ตัว แต่ไม่เป็นไร เราเข้าใจถึงกลไกทางตลาดดี แต่จะดีกว่าถ้าเราสามารถทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกต้องและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกเยอะเลย
บทความนี้ Springnews มีวิธีกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์เจ๋ง ๆ มานำเสนอ AIS ได้ออกแบบระบบนิเวศการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า E-Waste+ รายแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ร่วมกับ 6 องค์กรพาร์ทเนอร์ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนไปพร้อมกัน
E-Waste+ By AISE-Waste+ คืออะไร
E-Waste+ คือแพลตฟอร์มการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์บนเทคโนโลยี Blockchain ที่จะทำให้เห็นกระบวนการทำงานร่วมกันตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ตั้งแต่ ผู้ทิ้งขยะ (Customers) ผู้รับขยะ (Drop Point Agents) การขนส่ง ไปจนถึงปลายทางโรงงานจัดการขยะเพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ตามมาตรฐานแบบ Zero Landfill หรือก็คือ เมื่อเราส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ของเราออกไปสู่โรงรับขยะ เราสามารถตรวจสอบได้ด้วยว่าสถานะตอนนี้ของของชิ้นนั้นถึงไหนแล้ว
จากนั้นระบบจะคำนวณการทิ้งขยะแต่ละชิ้นออกมาเป็น Carbon Score เพื่อแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงจากการนำ E-Waste เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ถูกต้องตามมาตรฐาน
กระบวนการทำงาน
- E-Waste+ สามารถดาวน์โหลดรองรับทุกเครือข่ายและทั้งระบบ Android และ IOS โดยกดค้นหาคำว่า “E-Waste+” เพื่อดาวน์โหลด หลังจากนั้นลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกผู้รักษ์โลก โดยกรอกชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์มือถือ และตั้งรหัสผ่าน หลังจากนั้นเข้าสู่ระบบ (โดยสามารถลงทะเบียนได้ทุกเครือข่าย) สามารถโหลดแอป E-Waste+ ได้ทาง https://m.ais.co.th/ApH8dgAi8
- การทำงานของทั้งระบบจะใช้เพียง Application เดียว ลงทะเบียนและนำขยะ E-Waste มาทิ้งที่จุดรับ E-Waste+ โดยมีเจ้าหน้าที่ในการรับขยะ E-Waste ถ่ายภาพและใส่ข้อมูล ระบบก็จะบันทึกการทิ้งขยะ โดยผู้ใช้งานก็จะเห็นได้ว่าขณะนี้ E-Waste ของคุณอยู่ในขั้นตอนไหน
- เมื่อขยะ E-Waste ที่ถูกรวบรวมถึงโรงงานแยกขยะ จะทำการตรวจสอบเมื่อพบว่ามีขยะดังกล่าวจริงก็จะยืนยัน และแสดงผลลัพธ์การส่งขยะเสร็จสมบูรณ์ถึงโรงงานที่ได้มาตราฐานเพื่อทำการจัดการอย่างถูกวิธีแก่ผู้ทิ้งขยะ จนออกมาเป็น Carbon Score
ประเภทของที่รับในการทิ้งผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste+
- โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
- อุปกรณ์เสริมมือถือ และแท็บเล็ต เช่น หูฟัง, ลำโพง, สายชาร์จ, อะแดปเตอร์
- ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก, เมาส์, คีย์บอร์ด, ฮาร์ดดิส, ลำโพง
- อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่นๆ เช่น กล้องถ่ายรูป, เครื่องเล่นดีวีดี, จอยเกมส์, วิทยุสื่อสาร, เครื่องคิดเลข, โทรศัพท์บ้าน, รีโมทคอนโทรล, เครื่องเล่น MP3 เป็นต้น
ยกเว้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่, พาวเวอร์แบงค์, ถ่านไฟฉายทุกประเภท
นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า
“จากสถานการณ์โลกที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในทุกภาคส่วน สิ่งที่ตามมาคือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานดิจิทัลก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้นเราจึงทำหน้าที่ 2 ส่วนคือ สร้างการรับรู้และตระหนักถึงโทษภัยของขยะ E-Waste ในขณะเดียวกันก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการจัดเก็บและทำลาย E-Waste อย่างถูกวิธี ทั้งการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ตั้งจุดรับทิ้งและนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
“โดยเบื้องต้น เราได้ร่วมทำงานกับพันธมิตรเครือข่าย Green Partnership ทั้ง 6 องค์กรที่จะเดินหน้าสร้างมาตรฐานการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถสร้างการมีส่วนร่วมอย่างโปร่งใสผ่าน Blockchain ประกอบไปด้วย บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด, ธนาคารออมสิน และธนาคารกสิกรไทย ที่จะเข้ามาเริ่มใช้แพลตฟอร์ม E-Waste+ เพื่อส่งต่อการดูแลสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคลากรในองค์กรและสังคมในวงกว้างต่อไป”
พันธมิตรเครือข่าย Green Partnership ทั้ง 6 องค์กรนางสายชล กล่าวในช่วงท้ายว่า “จากความมุ่งมั่นตั้งใจของ AIS ที่ลุกขึ้นมาเป็นแกนกลางด้านองค์ความรู้และจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ปี 2019 ทำให้วันนี้เราได้ยกระดับไปอีกขั้นด้วยการใช้ความสามารถของดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาบูรณาการสร้างระบบการจัดการ E-Waste ใหม่ด้วย Blockchain ผ่านการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายเพื่อจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสิ่งแวดล้อมและโลกนี้ให้ดีขึ้น”
นี่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้อง แถมสะดวกและง่ายต่อผู้ใช้งานด้วย และก็สามารถทำให้เราเห็นได้ว่า กลุ่มธุรกิจไทยเริ่มเปลี่ยนรูปแบบในการดำเนินกิจการไปสู่ความยั่งยืนและสร้างความรับผิดชอบต่อระบบนิเวศทั้งตัวของธุรกิจเองและกับผู้บริโภคด้วย
สำหรับองค์กรใดสนใจใช้งาน แพลตฟอร์ม E-Waste+ เข้าร่วมเป็นเครือข่าย Green Partnership สามารถติดต่อได้ที่ e-mail: aissustainability@ais.co.th หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง https://ewastethailand.com/ewasteplus
Source : Spring News