News & Update

ชัชชาติ ชี้ นวัตกรรมเปลี่ยน กทม. สู่ Net Zero

“กรุงเทพธุรกิจ” ร่วมกับ “บีไอจี” ผู้นำนวัตกรรมก๊าซอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อสภาพภูมิอากาศ (Climate Technology Company) จัดเวทีสัมมนา Climate Tech Forum : Infinite Innovation…Connecting Business to Net Zero เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2566

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บรรยายพิเศษหัวข้อ “นวัตกรรมเปลี่ยนกรุง” ว่า  การนำเอาเทคโนโลยีนำทางคงยากเพราะคนกรุงเทพฯ มีกว่า 10 ล้านคน แต่หานำนวัตกรรมมาใช้ก็ทำได้ เพราะนวัตกรรมเป็นไอเดีย แต่ต้องปรับความคิดให้มีมูลค่าหรือเปลี่ยนให้เป็น Value ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีมาก เพียงแค่ขอให้ปรับชีวิตคน และเพิ่มคุณค่าให้กับคนในเมืองได้ อย่าไปยึดติดกับอินโนเวชัน ที่เป็นเทคโนโลยี

รวมทั้งที่ผ่านมาพบว่ามีเทคโนโลยีหลายอย่างที่ไม่ได้มาจากอินโนเวชัน และหากพูดถึงความยั่งยืน คือ การไม่เบียดเบียนทรัพยากรของคนรุ่นใหม่ในอนาคตเพื่อตอบโจทย์ปัจจุบัน

“อย่าไปตอบสนองความต้องการในปัจจุบันโดยใช้ทรัพยากรในอนาคตของคนรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาแล้ว เห็นได้ชัดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ”

'ชัชชาติ' ชี้ นวัตกรรมเปลี่ยน กทม. สู่ Net Zero

สำหรับสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกรุงเทพฯ มาจาก  3 ส่วน คือ

1.การใช้พลังงาน  คิดเป็น 58.9%

2.การขนส่ง คิดเป็น 28.9%

3.น้ำเสียและมูลฝอย คิดเป็น 12.3%  

ทั้งนี้ เป้าหมายของ กทม.ที่วางไว้คือ ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งเป้าให้การปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero)ให้ได้ราว 19% ภายในปี 2573 แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยหากเป็นบริษัทขนาดใหญ่ก็ทำได้ไม่ยากนัก เพราะมีเทคโนโลยี มีเงินทุน

ขณะที่กลุ่มเอสเอ็มอีไม่มีเงินลงทุน และก็ไม่สนใจ  เพราะเอสเอ็มอีสนใจเพียงว่าธุรกิจของเขาจะรอดไหมในเศรษฐกิจแบบนี้ ดังนั้นจึงบอกว่าเอาแค่ลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 3% ต่อปี ก็น่าเพียงพอแล้ว ซึ่งเป้าหมายตรงนี้ทำได้แน่

'ชัชชาติ' ชี้ นวัตกรรมเปลี่ยน กทม. สู่ Net Zero

ทั้งนี้การทำ Net zero ของ กทม.ได้กำหนดแผนการทำ 3 เรื่อง CRO คือ Calculate Reduce Offset  ประกอบด้วย

1.Calculate คำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในหน่วยงานของ กทม. โดยร่วมกับองค์การบริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และเริ่มใน 3 เขตก่อน คือ เขตดินแดง เขตบางขุนเทียน เขตประเวศ

2.Reduce ลด ก๊าซเรือนกระจกคือ ทำให้เมืองเดินได้ ปรับโครงสร้าง เพื่อสนับสนุนการใช้รถโดยสารสาธารณะ โดยไม่ต้องใช้รถยนต์ ใช้รถไฟฟ้า หรือปั่นจักรยาน ทำทางเท้าเพิ่ม

สำหรับสิ่งเหล่านี้ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชน การส่งเสริมอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เช่น การติดตั้งหลอดไฟแอลอีดี LED ประมาณ 100,000 ดวง ซึ่งลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงและการขจัดน้ำเสีย โดยการเติมออกซิเจนลงไป

รวมถึงการแยกขยะที่ภายใน 1 ปี สามารถลดขยะได้ 300-700 ตันต่อตัน การส่งเสริมการขนส่ง และคมนาคมสะอาด เช่น การเปลี่ยนเป็นยานพาหนะต่างๆ ให้เป็นระบบไฟฟ้า EV หรืออย่างน้อยเป็น hybrid การเพิ่มการติดตั้งที่ชาร์จ EV หรือจุดแลกแบตเตอรี่ ในพื้นที่ของ กทม.การปรับผังเมืองให้ เป็นต้น

3.Offset การส่งเสริมโครงการที่เก็บกักหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เหลืออยู่ ผ่านการส่งเสริมโครงการที่เก็บกัก หรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกโดยวิธีทางธรรมชาติ เช่น การเพิ่มพื้นที่สีเขียว  ซึ่ง กทม.มีนโยบายปลูกต้นไม้  1 ล้านต้นปลูกไปแล้ว 420,000 ต้น เพิ่มสวนใกล้บ้าน 

คนกรุงเทพฯ 10 ล้านคนไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้ทุกคน แต่นวัตกรรมสามารถเปลี่ยนเมือง ตอบโจทย์ได้แก้ปัญหา  Climate Change ได้ และนวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีทันสมัย แต่จะเป็นคำตอบที่ช่วยเพิ่ม Value ให้กับคน โดยเอาคนเป็นที่ตั้งเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบ ต้องมีความสนับสนุนกันทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ ประชาชน และเอกชน ” ชัชชาติ กล่าว

Source : กรุงเทพธุรกิจ

Tags:

EA ทดลองวิ่งหัวรถจักรไฟฟ้า ชูประหยัดต้นทุนพลังงาน 40%

 EA ส่งหัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ ‘MINE Locomotive’ ทดลองวิ่งจริงสู่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ผลักดันระบบรางไทยเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์  (EA)  ร่วมกับ…

Altilium ปฏิวัติวงการแบตฯ EV รีไซเคิล ต้นทุนต่ำ ลดคาร์บอน ใช้ได้นานกว่าเดิม

งานวิจัยล่าสุดจาก Imperial College London ยืนยัน วัสดุรีไซเคิลจากแบตเตอรี่ EV เก่า ดีกว่าแร่จากเหมือง ทั้งอายุใช้งาน,…

พลังงานจ่อขยายเพดานตรึง “ราคาน้ำมันดีเซล” ไม่เกิน 35 บ. หลังกองทุนวิกฤตหนัก

พลังงานจ่อขยายเพดานตรึง "ราคาน้ำมันดีเซล" ไม่เกิน 35 บาท เพื่อให้สะท้อนต้นทุนราคาน้ำมันตลาดโลก ชี้ทำเหมือนปี 65 หลังสถานะกองทุนน้ำมันวิกฤตหนัก ล่าสุดติดลบกว่า…