News & Update

โอกาสทองตลาดคาร์บอนเครดิต มูลค่าพุ่งปรี๊ด ทะลุ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตลาดคาร์บอนเครดิต ส่อแววสดใส สนค. ชี้โตเร็ว คาดมูลค่าตลาดโลกจะสูงถึง 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แต่ความต้องการสูงถึง 3-5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี73 ชี้เป็นโอกาสทองเพิ่มมูลค่าภาคเกษตร-ส่งออกที่แปลงเป็นคาร์บอนเครดิตได้ และเพิ่มโอกาสส่งออกสินค้าที่ลดการปล่อยคาร์บอน

เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตามองอย่างมากสำหรับคาร์บอนเครดิต ที่มีภาคธุรกิจ และสายกรีนพูดถึงกันมากในช่วงนี้ และคาดว่าจะเป็นเทรนด์ที่มาแรงอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้จากนี้ไป โดยล่าสุด นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค.ได้ทำการติดตามตลาด “คาร์บอนเครดิต” ที่มุ่งลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่า ประเทศต่าง ๆ

ทั้งนี้ได้มีการกำหนดกลยุทธ์และมาตรการควบคุมคาร์บอน  เช่น การเก็บภาษีคาร์บอน ไม่ว่าจะเป็นภาษีจากการประกอบกิจการในประเทศ หรือภาษีจากการนำเข้าสินค้าที่กระบวนการผลิตมีการปล่อยคาร์บอนสูง ส่งผลให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต ผ่านกลไกตลาดคาร์บอน เพื่อให้ธุรกิจที่มีการปล่อยคาร์บอนสูง สามารถซื้อคาร์บอนเครดิต (Carbon Credits) เพื่อชดเชย การปล่อยคาร์บอน (เสมือนผู้ซื้อได้ดำเนินการลดจำนวนคาร์บอน) เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โอกาสทองตลาดคาร์บอนเครดิต มูลค่าพุ่งปรี๊ด ทะลุ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยจากการสำรวจ พบว่า ในปี2563 ที่ผ่านมาตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market)  มีมูลค่าสูงถึง 1,980 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าภายในปี 2573 คาดว่ามูลค่าตลาดจะสูงถึง 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่ความต้องการคาร์บอนเครดิตอาจมีมูลค่าสูงถึง30,000-50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันการซื้อขายคาร์บอนเครดิต เริ่มเป็นที่นิยมในหลายประเทศ

อย่างไรก็ตามกระทรวงพาณิชย์ มองว่า จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดคาร์บอนเครดิต เป็นโอกาสในการเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจภาคเกษตรไทย เนื่องจากการปลูกพันธุ์ไม้ที่สามารถแปลงเป็นคาร์บอนเครดิต 58 สายพันธุ์ ที่นอกจากปลูกเพื่อการค้าแล้ว ยังสามารถเข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VERs2) สาขาเกษตร (สวนผลไม้) ซึ่งเป็นการสร้างรายได้หลายทาง ทั้งการเพิ่มมูลค่าให้กับภาคเกษตร และสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต

โอกาสทองตลาดคาร์บอนเครดิต มูลค่าพุ่งปรี๊ด ทะลุ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

เครดิตภาพ : Freepik

ไม่เพียงเท่านี้นอกจากนี้ไทยยังจะมีโอกาสในการขยายตลาดส่งออก โดยเฉพาะสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ จะได้เปรียบด้านราคากว่าสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนสูง เพราะปัจจุบันมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ถือเป็นกฎระเบียบโลกสมัยใหม่ ที่จะถูกนำมาใช้มากขึ้น คือตัวแปรสำคัญในการแข่งขันทางการค้าเพื่อป้อนสู่ตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ซึ่งไทยต้องบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนในเชิงรุก เตรียมความพร้อมให้ภาคธุรกิจปรับตัว ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้ไทยต้องขับเคลื่อนBCG โมเดล การสร้าง News S-Curve ทางเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งเสริมภาคการเกษตรในการลดก๊าซเรือนกระจก การเร่งประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อดักจับคาร์บอน การใช้ประโยชน์และกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ในเชิงพาณิชย์ การปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบ การสร้างมูลค่าเพิ่มของคาร์บอนเครดิตและสิทธิประโยชน์ทางภาษี การพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิตทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงส่งเสริมองค์ความรู้ในการเข้าร่วม T-VERs ให้แก่ธุรกิจการเกษตรไทย

ซึ่งจากนี้ไปสนค. จะเดินหน้าดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการปรับตัวของภาคธุรกิจไทย เพื่อเตรียมพร้อมต่อมาตรการทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อม กรณีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยจะมีการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการปรับตัวของภาคธุรกิจไทย เพื่อเตรียมความพร้อม ต่อมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในตลาดโลกต่อไป

ทั้งนี้มีการคาดการณ์ความต้องการคาร์บอนเครดิตในไทยในอนาคต ซึ่งประเมินจากข้อมูลปี 2563 กว่า 81 องค์กร มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันเฉลี่ยราว 160 ล้านตัน tCO2e ต่อปี ซึ่งหากหน่วยงานเหล่านั้น ต้องการที่จะเป็นหน่วยงานปลอดคาร์บอน (Carbon Neutral Organization) ความต้องการซื้อคาร์บอนเครดิตชดเชยในปี 2563 – 2573 คาดว่าจะสูงถึงราว 1,600 ล้านตัน tCO2e

Source : Spring News

เขย่าวงการ “ธ.ก.ส.” รับซื้อคาร์บอนเครดิต ราคากึ่ง CSR ตันละ 3,000 บาท

คาร์บอนเครดิตเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทั้งการซื้อขายต่างๆ เพื่อนำมาชดเชยคาร์บอนที่ปล่อยไป แต่การทำคาร์บอนเครดิตนั้นยังมีข้อจำกัดในหลายด้าน อย่างงบประมาณในการประเมินที่สูงซึ่งทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงยาก หากการช่วยเหลือจากภาคต่างๆ จะสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น ฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า …

กองทุนน้ำมันฯ ติดลบต่ำสุดในรอบปี 2567 เหลือ -78,970 ล้านบาท หลังเรียกเก็บเงินผู้ใช้น้ำมันทุกรายได้ 7,000 ล้านบาทต่อเดือน

กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เริ่มฟื้นตัว สถานการณ์เงินติดลบเริ่มลดลงเหลือ -78,970 ล้านบาท นับเป็นการติดลบต่ำที่สุดในรอบปี 2567 เหตุเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำมันทุกคนได้เดือนละกว่า 7,000 ล้านบาท…

กรุงศรีโหมตลาด ESG เปิดสินเชื่อโซลาร์รูฟท็อป รุกจับทั้งผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไป ปักหมุดผู้นำ ESG Finance

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) มุ่งเน้นการเป็นพันธมิตรที่ลูกค้าไว้วางใจ สร้างตลาดการเงินด้านความยั่งยืนให้เติบโตต่อเนื่องด้วยการเปิดตัวสินเชื่อใหม่ สินเชื่อโซลาร์รูฟท็อป เพื่อผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการติดตั้งหลังคาโซลาร์รูฟ พร้อมรุกตลาดลูกค้าบุคคลด้วยสินเชื่อกรุงศรีโฮมฟอร์แคช ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้รับเงินทุนที่เพียงพอเพื่อติดตั้งหลังคาโซลาร์รูฟในที่พักอาศัยได้แล้ววันนี้

Leave a Reply