News & Update

จับตา! คลอด “ภาษีคาร์บอน” รถยนต์แบบไหน เสียเท่าไหร่?

สังคมจับตา! คลอดภาษีคาร์บอน ของกระทรวงการคลัง ว่ารถยนต์แบบไหน จะเสียเท่าไหร่? เบื้องต้นจะพาส่องดูคร่าวๆก่อน โดยใช้กลไกภาคบังคับ ดูแลสิ่งแวดล้อม สินค้าใดผลิตด้วยการปล่อยคาร์บอนสูงจะถูกเก็บภาษีในอัตราสูง

สังคมยังคงจับตามองคลอดภาษีคาร์บอน ของกระทรวงการคลัง ว่าจะออกมาในรูปไหน ภาคธุรกิจ และเกณฑ์ปล่อยคาร์บอนเท่าไหร่ จะเสียภาษีปประมาณไหน วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามาดูคร่าวๆ ก่อนว โดนนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผย กรมฯ จะปรับโครงสร้างภาษีให้สอดคล้องกับทิศทางที่ดูแลสิ่งแวดล้อมเช่นกัน โดยกรมฯ ได้ศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีสินค้าที่ปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยนำมาตรฐานโลกมาเป็นแนวทาง ได้แก่

1.จัดเก็บระดับคอร์ปอเรท

2.จัดเก็บระดับโปรดักส์ ซึ่งในอำนาจของกรมฯ นั้น สามารถจัดเก็บได้เลยจากโปรดักส์ และเห็นว่า การจัดเก็บภาษีสินค้าตั้งแต่ระดับต้นน้ำ เช่น น้ำมัน แก๊ส ถ่านหิน ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่ส่งต่อไปยังสินค้ากลางน้ำและปลายน้ำ จะเป็นการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

อย่างไรก็ตามปัจจุบันไทยปล่อยคาร์บอนถึง 372 ล้านตันคาร์บอน แบ่งเป็น กลุ่มพลังงานและขนส่งรวม 70% ซึ่งใน 70% นี้ เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีกรมสรรพสามิต สำหรับกรณีที่กรมฯศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีรถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนว่า ในอนาคตรถยนต์ใดที่ปล่อยคาร์บอนสูงก็จะถูกเก็บภาษีในอัตราสูง ซึ่งจะบีบไปเรื่อยๆ ได้แก่

  • รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนมากกว่า 200 กรัมต่อกิโลเมตร จะถูกเก็บภาษีในอัตรา 35% ในปี 2569 และ 38% ในปี 2573
  • รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอน 151-200 กรัมต่อกิโลเมตร จะถูกเก็บภาษี 30% ในปี 2569 และ 33% ในปี 2573
  • รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอน 121-150 กรัมต่อกิโลเมตร จะถูกเก็บภาษี 25% ในปี 2569 และ 29% ในปี 2573
  • รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอน 101-120 กรัมต่อกิโลเมตร จะเก็บภาษีในอัตรา 22% ในปี 2569 และ 26% ในปี 2573
  • รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนน้อยกว่า 100 กรัมต่อกิโลเมตร จะเก็บภาษีในอัตรา 13% ในปี 2569 และ 15% ในปี 2573

ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่าภาษีคาร์บอนของประเทศไทย จะออกมาในรูปแบบไหน !

Source : Spring News

ทั่วโลกใช้ ‘เครื่องปรับอากาศ’ เพิ่มขึ้น ดันความต้องการพลังงานสูงขึ้น 280%

จากรายงาน “World Energy Outlook” ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่า ภายในปี 2030 เครื่องปรับอากาศทั่วโลกจะต้องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 697 เทระวัตต์ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ถึงสามเท่า…

GISTDA ยกระบบการตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพด ซีพี.แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เผยแพร่การประชุม “หารือร่วมรัฐเอกชนในจัดทำระบบฐานข้อมูล PM 2.5”  ผ่านเฟสบุ๊คองค์กรฯ ว่าที่ประชุมมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและระดมสมองร่วมกันของตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐ ภาคเอกชน ประกอบดัวย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ…

Leave a Reply