News & Update

ไอเดีย“AZEC”ของญี่ปุ่นหนุน แผน”ลดคาร์บอน”บริบทใหม่ในเอเชีย

ความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์เป็นบันไดขั้นที่ 1 ที่จะลดปัญหาโลกร้อนแต่หลังความมุ่งมั่นที่แต่ละประเทศประกาศเจตนารมณ์มาเมื่อหลายปีมาแล้วนั้น คือการลงมือทำ แต่วิธีการควรเป็นอย่างไร

 ข้อริเริ่มโดยรัฐบาลญี่ปุ่นที่ชื่อว่า  Asia Zero Emission Community (AZEC) นั้นน่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับการลงมือปฏิบัติ 

“ญี่ปุ่น”พยายามที่จะทำเจตนารมณ์ให้เป็นรูปธรรมผ่านเป็นแพลตฟอร์มและข้อตกลงในแถลงการณ์ร่วมของ AZEC ว่าด้วย 1. ยกระดับความร่วมมือไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน/การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ ในขณะที่รับประกันความมั่นคงทางพลังงาน 2. การส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านพลังงานในขณะที่บรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ 3. การตระหนักว่ามีวิถีทางที่หลากหลายและปฏิบัติได้จริงสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน/การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละประเทศ

โคบายาชิ อิซุรุ รองผู้บัญชาการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ หน่วยงานเพื่อทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI หรือ เมติ) ประเทศญี่ปุ่น ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับกรุงเทพธุรกิจ ในงาน International Energy AZEC (Asia Zero Emission Community) Workshop จัดโดยเจโทร กรุงเทพฯ ว่าประโยชน์ของโครงการ AZEC ต่อประเทศไทยคือการส่งเสริมนโยบายของไทยโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าประเทศไทยต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมการทำงานด้านนี้ 

“ทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปต่างอุดมไปด้วยพลังงานหมุนเวียน  แนวทางนี้เหมาะสำหรับประเทศไทยและหรือประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สะอาด นอกจากนี้ แต่ศักยภาพของประเทศไทยและหรือประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงในด้านพลังงานหมุนเวียนยังมีน้อยเมื่อเทียบกับยุโรปและสหรัฐอเมริกา” 

ไอเดีย“AZEC”ของญี่ปุ่นหนุน แผน"ลดคาร์บอน"บริบทใหม่ในเอเชีย

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยกำลังใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อตอบสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โครงสร้างเชื้อเพลิงฟอสซิลค่อนข้างใหญ่และยากที่จะเลิกใช้ ในกรณีของ AZEC มีวิธีการค่อนข้างหลากหลายที่จะเข้าใกล้พลังงานหมุนเวียน และได้พยายามคำนึงถึงความยากลำบากและความท้าทายที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ด้วย

สำหรับประเทศไทยมีศักยภาพของแสงแดด แต่ก็ยังมีปัญหาคือปริมาณน้ำฝน เมื่อฝนตกมากในภาคใต้ ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์จะอยู่ที่ 10-20% เมื่อเทียบกับวันที่มีแดด หากฝนตกหนัก หากคุณไม่มีกริดขนาดใหญ่  ต้องมีการสำรองพลังงานจำนวนมาก

ประเทศไทยกำลังใช้ประโยชน์จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขณะเดียวกันการผลิตก๊าซธรรมชาติก็ทำได้น้อยลง และต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ซึ่งมีราคาแพง ดังนั้น วิธีลดคาร์บอนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ประเทศไทยต้องพิจารณาปรับใช้จากกรอบของ AZEC คือการทำงานร่วมกันเพื่อพิจารณาวิธีลดคาร์อนจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เหมาะสมกับสภาวะของประเทศนั้นๆที่เผชิญอยู่ 

“สิ่งที่ญี่ปุ่นต้องการเข้าใกล้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ AZEC ต้องการเน้นเรื่องการลดคาร์บอนแต่ไม่ได้บอกว่าต้องเลิกใช้โรงไฟฟ้าถ่านหิน ก่อนหน้านี้ ประเทศส่วนใหญ่ไม่พยายามสนับสนุนกระบวนการนี้ แต่เพียงบอกว่าหยุด นี่คือความแตกต่างระหว่าง AZEC และกรอบการสนับสนุนการลดคาร์บอนประเภทอื่นๆ และเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับประเทศในเอเชีย”

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขณะที่ศักยภาพการผลิตพลังงานหมุนเวียนยังมีอยู่น้อย เมื่อเทียบกับฝั่งสหรัฐหรือยุโรป

ขณะที่ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีข้อจำกัด มีระบบกริดที่ค่อนข้างเล็กและเชื่อมต่อกันน้อย บวกกับปริมาณน้ำฝนที่ดีทำให้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขาดช่วง ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และอุตสาหกรรมการเกษตรและประชากรจำนวนมากสร้างความยากลำบากในการหาพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับโฮสต์โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่

ในกรณีของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องออกแบบเส้นทางของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน แทนที่จะทำตามแนวทางที่แนะนำคือเลิกใช้ Coal Fired Power Plant (CFPS)ให้เร็วที่สุดและแทนที่ด้วยพลังงานหมุนเวียน หลักการเหล่านี้จะสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยสำหรับประเทศไทยและประเทศในเอเชียฯในการพัฒนาเส้นทางที่หลากหลายและปฏิบัติได้ของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

ญี่ปุ่นยังใช้หลักการสามประการข้างต้นของ AZEC เพื่อออกแบบนโยบายการเปลี่ยนผ่านพลังงานของตนเอง เกี่ยวกับแนวทางของญี่ปุ่นต่อ Nationally Determined Contribution : NDC ต่อการลด GHG ลง 46% ในปี 2573 เมื่อเทียบกับระดับปี 2556 กำลังพยายามทำในภาคการผลิตไฟฟ้าสนับสนุนการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593

“เราคิดว่านวัตกรรมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ จึงพัฒนากองทุนนวัตกรรมสีเขียวมูลค่า 2 ล้านล้านเยนเพื่อสนับสนุนบริษัทภาคเอกชนในการวิจัยและพัฒนาและการสาธิตเทคโนโลยีการลดคาร์บอน ซึ่งสามารถแบ่งปันกับประเทศสมาชิก AZEC ได้ในอนาคต”

การลดคาร์บอนและการก้าวสู่สังคมNet-Zero แม้จะเป็นเป้าหมายเดียวกันแต่ด้านการปฎิบัติการไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการเดียวกันซึ่งข้อริเริ่ม AZECกำลังนำเสนอรูปแบบที่แตกต่างแต่เหมาะสมแต่ละสังคม

Source : กรุงเทพธุรกิจ

มช. เผยผลศึกษาถนนพลาสติกรีไซเคิล ไม่ก่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมทดสอบบนถนนภาครัฐ

จากการริเริ่มของกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ซึ่งร่วมมือกับ SCGC นำโครงการถนนพลาสติกที่ Dow ได้ทำสำเร็จในหลายประเทศทั่วโลกเข้ามาทดลองทำในประเทศไทย สู่ความร่วมมือกับพันธมิตรหลายภาคส่วน…

(ชมคลิป) สวิตฯ ติดโซลาร์เซลล์ 5,000 แผ่น ที่เขื่อนสูงที่สุดในยุโรป ใช้ปัจจัยหิมะสะท้อนแสงเข้าหา ผลิตพลังงานต่อเนื่องแม้ในฤดูหนาว

"พลังงานจากแสงอาทิตย์" เป็นพลังงานสะอาดที่ไม่มีที่สิ้นสุด และหลายๆ ประเทศต่างพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ เพื่อเก็บเกี่ยวพลังงานนี้มาใช้ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้มีการพัฒนาในนี้ด้วย โดยในปัจจุบัน บริษัท แอ็กซ์โป (Axpo)…

กลุ่ม ปตท. จัดกิจกรรมวันเด็ก ประจำปี 2566 นำเสนอโลกเสมือนใหม่ ภายใต้แนวคิด “INNOVERSE ขับเคลื่อนพลังสู่อนาคต”

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมผู้บริหารระดับสูง กลุ่ม ปตท.…

Leave a Reply