News & Update

“อาเซียน”เห็นชอบกรอบทำงาน การเงินและการคลังที่ยั่งยืน

เมื่อเร็วๆนี้ คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM)

 ครั้งที่ 9 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีการรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 

1.การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน(ASEAN Finance Ministers’ Meeting: AFMM) ครั้งที่ 27 ที่ประชุมฯ ได้ติดตามความคืบหน้าของความร่วมมือทางการเงินอาเซียนได้แก่ ด้านศุลกากร ภาษีอากร การประกันภัย การระดมทุน เพื่อโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาตลาดทุน และการบริหารความเสี่ยงและการประกันภัยเพื่อรองรับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ

 โดยมีประเด็นหารือที่สำคัญ ได้แก่ (1) การปรับทิศทางการดำเนินงานไปสู่การลงทุนในโครงการสีเขียวเพิ่มขึ้นและการพิจารณาเพิ่มทุนมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ ของกองทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอาเซียน (2) การขยายขอบเขตของคณะกรรมการร่วมด้านการบริหารความเสี่ยงทางการเงินและการประกันภัยด้านภัยพิบัติของอาเซียนให้ครอบคลุมเรื่องโรคระบาด (3) การผลักดันการเลกเปลี่ยนหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ (4) ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านการเงินการคลังและหน่วยงานสาธารณสุข ซึ่งอยู่ระหว่างประเมินความต้องการเงินทุนและกลไกระดมทุนระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศเพื่อการป้องกัน เตรียมความพร้อมและรับมือกับโรคระบาดรวมทั้งความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนระดับภูมิภาค และ (5) ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร

ะเทศเช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 คณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงิน และธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank ADB) โดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศระบุว่า ในปี 2566 เป็นปีที่ท้าทายเนื่องจากยังมีแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อและความเสี่ยงจากสถานการณ์สหพันธรัฐรัสเซีย-ยูเครน ส่วนอัตราเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วและจะเริ่มปรับตัวลดลงในปี 2567 ทั้งนี้ ได้เสนอแนะให้มีการรักษาสมดุลระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจกับการรักษาระดับเงินเฟ้อ

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ รับทราบประเด็นสำคัญที่อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนต้องการผลักดันให้สำเร็จภายในปี 2566 ใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการฟื้นฟูและการสร้างใหม่ (2) ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และ (3) ด้านความยั่งยืน

“ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าประเทศไทยเห็นด้วยกับร่างแถลงการณ์ร่วมฯที่มีการปรับเปลี่ยนจากร่างแถลงการณ์ร่วมฯที่ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการของร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เดิมโดยสมาชิกอาเซียนทุกประเทศรวมถึงไทยจะได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงให้สาระสำคัญมีความชัดเจน กระชับ ครอบคลุมประเด็นที่ได้หารือ และสะท้อนถึงความต้องการของสมาชิกมากขึ้น”

ระบบการเงินและการคลังจะเป็นเครื่องสำคัญที่จะนำไทยและภูมิภาคก้าวผ่านความท้าทายสู่เป้าหมายความยั่งยืนอย่างแท้จริง 

Source : กรุงเทพธุรกิจ

รับมือกติกาโลกใหม่ อียูจับมือไทยแก้ “โลกรวน” สรรพสามิตชงเก็บภาษีคาร์บอน

อียูพร้อมช่วยไทยรับมือภาวะโลกรวน เปิดเวทีติวเข้มเอกชนไทยปรับตัวรับกติกาค้าโลกใหม่ สรรพสามิตจ่อชงรัฐบาล “เศรษฐา” เก็บภาษีปล่อยคาร์บอน “พาณิชย์” ดัน BCG Model เป็นทางออกผู้ประกอบการสู้ศึกค้าโลก…

“เน็กซ์” หนุนใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ลดนำเข้าน้อยสุด

นายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็กซ์ พอทย์ จำกัด (มหาชน) หรือเน็กซ์ (NEX) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ…

สำนักงาน กกพ. เผยแผนงานปี 68 หนุนไฟฟ้าสะอาดสร้างเศรษฐกิจชาติ

เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) แถลง แผนงานปี 68  ดัน “ไฟฟ้าสะอาด” เต็มรูปแบบเสร็จก่อนสิ้นปี เดินหน้าเปิดเสรีธุรกิจก๊าซระยะ 2…