News & Update

อัพเกรด ‘E-Bus’ เพิ่มประสิทธิภาพขนส่งสาธารณะ

จากการพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้ปัจจุบันมีตัวเลือกมากมายให้กับสังคมและผู้บริโภคที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการจากช่องทางไหน ซึ่งแนวโน้นความต้องการในปัจจุบันเริ่มมีทิศทางชัดเจนมากขึ้นว่าต้องการที่จะดูแลสิ่งแวดล้อมแต่ยังได้รับความสะดวกสบายอยู่ หลายสินค้าจึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ตอบโจทย์ด้านนี้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการคมนาคมที่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ อีวี เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นจากเมื่อปีก่อนๆ ปี 2565 นี้ประเทศไทยเองก็มีความชัดเจนเพิ่มขึ้นจากมาตรการการส่งเสริมของรัฐ

ทำให้ภาคเอกชนหลายรายก็ตบเท้าเข้ามาพัฒนาและชิงพื้นที่การดำเนินธุรกิจในด้านนี้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังเห็นความชัดเจนของแผนการลงทุนมากขึ้นด้วย ซึ่งต่อไปน่าจะเป็นผลดีกับผู้บริโภคที่จะมีสินค้าและบริการที่หลากหลายให้เลือกซื้อเลือกใช้ หรือเลือกลงทุนด้วยได้ ขณะที่ฝั่งเอกชนเองก็ต้องมีแผนงานที่ชัดเจนมากขึ้น มีความหลากหลายขึ้นและผลักดันให้เกิดสังคมการลงทุนที่สมบูรณ์แบบ เช่นเดียวกับการที่บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) เริ่มดำเนินการอยู่

เนื่องจากเห็นว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมายานยนต์ไฟฟ้า เป็นหนึ่งในเทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคและองค์กรต่างๆ มีความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงนวัตกรรมด้านความปลอดภัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสอดรับกับนโยบายการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ของประเทศ

โดยอรุณ พลัส ถือว่าเป็นผู้ดำเนินธุรกิจด้าน อีวี แวลู เชน (EV Value Chain) ที่ดำเนินงานเพื่อรองรับการขยายฐานธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร ซึ่งล่าสุดได้ผนึกความร่วมมือกับบริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการรถโดยสารไฟฟ้า (E-Bus) ด้วยการติดตั้งและพัฒนาระบบ Hermes Platform ซึ่งเป็นระบบควบคุมและติดตามยานพาหนะแบบครบวงจร ครอบคลุมฟังก์ชั่น GPS Tracking เพื่อระบุตำแหน่งพิกัดรถโดยสาร ระยะเวลาที่รถโดยสารจะเข้าถึงสถานีจอดรับ

รวมถึงติดตามพฤติกรรมของพนักงานขับรถ เพื่ออำนวยความสะดวก และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้โดยสาร โดยจะนำร่องศึกษาการใช้งานระบบฯ กับรถโดยสารไฟฟ้าที่ให้บริการแก่พนักงานกลุ่ม ปตท. และประชาชนทั่วไปที่มาติดต่องาน ณ ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ (EnCo) เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาการให้บริการให้มีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้นถือเป็นยกระดับการให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบผ่านการนำระบบบริหารจัดการการขนส่งเข้ามาใช้ทดลองสนับสนุนการให้บริการรถยนต์ไฟฟ้า และก่อให้เกิดคุณค่าทางธุรกิจอย่างยั่งยืน

โดย นายเอกชัย ยิ้มสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อรุณ พลัส กล่าวว่า ARUN PLUS มุ่งมั่นที่จะร่วมสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในทุกมิติ ผ่านการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีให้ตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค โดยได้นำรถโดยสาร E-Bus ที่ผลิตขึ้นใหม่ในประเทศ และผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด เข้ามาให้บริการภายในศูนย์ EnCo โดยได้นำระบบ Hermes ที่ควบคุมและติดตามยานพาหนะ ออกแบบและพัฒนาโดย พีทีที ดิจิตอล มีฟังก์ชั่นรองรับการบริหารจัดการการขนส่งครบวงจร

และมีความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ตามมาตรฐานระดับ Enterprise Standard เข้ามาติดตั้งในรถโดยสาร E-Bus ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และร่วมขับเคลื่อนระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งสาธารณะของไทยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่อาจจะเป็นแบบอย่างในการนำเทคโนโลยีมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งช่วยลดทั้งระยะเวลาในการพัฒนาและลดต้นทุนการผลิตเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจและตลาดอีวีในอนาคตได้

สำหรับความร่วมมือทางธุรกิจในครั้งนี้ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อใช้งานรถโดยสารไฟฟ้า อีกทั้งยังเป็นการปูทางสู่การให้บริการนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งนอกจากการทดสอบระบบการใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นแล้ว ยังทำให้ EnCo ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอาคารสำนักงาน และผู้ให้บริการรถโดยสารรับส่งนี้ สามารถติดตามรถและพฤติกรรมของพนักงานคนขับรถได้อย่างแม่นยำ เพิ่มความปลอดภัยในการขนส่ง อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการเดินรถและใช้พลังงานได้อย่างเหมาะสม

ในขณะที่พนักงานและประชาชนที่มาติดต่องานจะได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางและช่วยลดเวลาจากการเดินทางได้มากขึ้น โดยในอนาคต PTT Digital และ ARUN PLUS ยังมีแผนที่จะขยายการให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า E-Bus สู่องค์กรภายนอก เพื่อขยายฐานธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่กำลังมาแรงอยู่ในขณะนี้อีกด้วย

แน่นอนว่าการดำเนินงานดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมของการพัฒนาอุตสาหกรรมรถอีวีที่จะขยับขึ้นไปอีกหนึ่งก้าว เพื่อกลายเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ประกอบกับแสดงถึงความพร้อมและความมุ่งมั่นของกลุ่ม ปตท. ที่ได้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอีวี แบบครบวงจรไปก่อนหน้านี้ จะเป็นพลังขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ตามทิศทางพลังงานในอนาคต สะท้อนถึงศักยภาพของประเทศไทยในการที่จะผลักดันให้เป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญในภูมิภาคได้

Source : ไทยโพสต์

เนื้อหาน่าสนใจ :  ไฮไลท์พลังงาน 2565 น้ำมันแพง กองทุนน้ำมันถังแตก ก๊าซแพง ค่าไฟแพง กฟผ.แบกหนี้อ่วม

EGAT Grid Modernization เสถียรภาพพลังงานหมุนเวียนของไทย

ในยุคที่การบริโภคเปลี่ยนไป การใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น ผลลัพธ์จากการใช้พลังงานมีหลายทิศทาง จึงเกิดการปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ของหลาย ๆ ภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนสังคมไปสู่การดูแลรักษาสมดุลให้เกิดระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ในความต้องการใช้พลังงานที่หลากหลาย ทำอย่างไรให้ตอบโจทย์ทุก ๆ ความต้องการ?…

ขอเชิญอบรม หลักสูตรการบริหารจัดการการเปลี่ยนผ่านพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ETC) รุ่นที่ 5

ขอเชิญอบรม หลักสูตรการบริหารจัดการการเปลี่ยนผ่านพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศENERGY TRANSITION & CLIMATE CHANGE MANAGEMENT (ETC) รุ่นที่…

กระทรวงพลังงานเปิดไทม์ไลน์ลดชนิดน้ำมันในประเทศให้เหลือดีเซลและเบนซินเพียงอย่างละ 1 ชนิด นอกนั้นให้เป็นน้ำมันทางเลือก

กระทรวงพลังงาน คาดสิ้นปี 2566 มีผลชัดเจนว่าประชาชนจะเลือกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 หรือ แก๊สโซฮอล์ 95 เป็นน้ำมันพื้นฐานกลุ่มเบนซินของประเทศ จากนั้นมีเวลา…

Leave a Reply