ใครหลายคนอาจมองว่า “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ “เอไอ” เป็นเทคโนโลยีที่อันตราย และแม้เอไอไม่ได้มีพิษภัย แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ เอไอเป็นเทคโนโลยีที่ต้องการพลังงานอย่างไม่รู้จักพอ
นิกเคอิ เอเชีย รายงานว่า ปัจจุบันต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมของเอไอยังคงเป็นประเด็นที่รัฐบาลส่วนใหญ่ให้ความสำคัญน้อยที่สุด รองจากความกังวลด้านการละเมิดลิขสิทธิ์ การแย่งงาน หรือกังวลว่าเอไอจะเป็นหุ่นยนต์สังหารที่ไม่สามารถควบคุมได้
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญต่างออกมาย้ำว่า “เอไอ” คือ ตัวสร้างความเสี่ยงด้านสภาพอากาศมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากใช้น้ำ และพลังงานปริมาณมาก ทั้งยังปล่อยมลพิษ และสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากมีการฝึก และปรับใช้โมเดลเอไอขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นทวีคูณ
นักวิจัยจากฮักกิง เฟซ (Hugging Face) บริษัทสตาร์ตอัปเอไอแบบโอเพนซอร์ส และมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน พบว่า การสร้างภาพด้วยเอไอ 1 ภาพ อาจใช้พลังงานเทียบเท่าการชาร์จโทรศัพท์มือถือ 522 เครื่อง และหากต้องการสร้างภาพด้วยเอไอ 1,000 ภาพ อาจปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าการขับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปเป็นระยะทาง 4.1 ไมล์ (ราว 6.5 กิโลเมตร) และวายร้ายตัวฉกาจในอุตสาหกรรมเอไอที่ใช้พลังงานอย่างมหาศาลคือ “ดาต้าเซนเตอร์”
ดาต้าเซนเตอร์หนุนเศรษฐกิจ
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่า การมีทรัพยากรเอไอจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านภูมิรัฐศาสตร์ หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงเอเชียจึงแข่งขันสร้างศูนย์ข้อมูลมากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนความพยายามเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และรักษาความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี
ข้อมูลจาก Renub Research ระบุว่า ตลาดดาต้าเซนเตอร์ในเอเชียแปซิฟิก อาจมีอัตราการเติบโต 12% ต่อปี จากปี 2566 – 2570 และมูลค่าตลาดอาจแตะ 4.8 หมื่นล้านดอลลาร์ภายในปี 2570
ใครหลายคนอาจมองว่า “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ “เอไอ” เป็นเทคโนโลยีที่อันตราย และแม้เอไอไม่ได้มีพิษภัย แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ เอไอเป็นเทคโนโลยีที่ต้องการพลังงานอย่างไม่รู้จักพอ
นิกเคอิ เอเชีย รายงานว่า ปัจจุบันต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมของเอไอยังคงเป็นประเด็นที่รัฐบาลส่วนใหญ่ให้ความสำคัญน้อยที่สุด รองจากความกังวลด้านการละเมิดลิขสิทธิ์ การแย่งงาน หรือกังวลว่าเอไอจะเป็นหุ่นยนต์สังหารที่ไม่สามารถควบคุมได้
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญต่างออกมาย้ำว่า “เอไอ” คือ ตัวสร้างความเสี่ยงด้านสภาพอากาศมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากใช้น้ำ และพลังงานปริมาณมาก ทั้งยังปล่อยมลพิษ และสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากมีการฝึก และปรับใช้โมเดลเอไอขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นทวีคูณ
นักวิจัยจากฮักกิง เฟซ (Hugging Face) บริษัทสตาร์ตอัปเอไอแบบโอเพนซอร์ส และมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน พบว่า การสร้างภาพด้วยเอไอ 1 ภาพ อาจใช้พลังงานเทียบเท่าการชาร์จโทรศัพท์มือถือ 522 เครื่อง และหากต้องการสร้างภาพด้วยเอไอ 1,000 ภาพ อาจปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าการขับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปเป็นระยะทาง 4.1 ไมล์ (ราว 6.5 กิโลเมตร) และวายร้ายตัวฉกาจในอุตสาหกรรมเอไอที่ใช้พลังงานอย่างมหาศาลคือ “ดาต้าเซนเตอร์”
ดาต้าเซนเตอร์หนุนเศรษฐกิจ
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่า การมีทรัพยากรเอไอจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านภูมิรัฐศาสตร์ หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงเอเชียจึงแข่งขันสร้างศูนย์ข้อมูลมากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนความพยายามเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และรักษาความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี
ข้อมูลจาก Renub Research ระบุว่า ตลาดดาต้าเซนเตอร์ในเอเชียแปซิฟิก อาจมีอัตราการเติบโต 12% ต่อปี จากปี 2566 – 2570 และมูลค่าตลาดอาจแตะ 4.8 หมื่นล้านดอลลาร์ภายในปี 2570
วายร้ายหิวพลังงาน-กระหายน้ำระบายความร้อน
ตามข้อมูลคาดการณ์ขององค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (ไออีเอ) ระบุว่า ในระหว่างปี 2565 – 2569 ดาต้าเซนเตอร์ทั่วโลกอาจใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แตะระดับ 1,000 เทราวัตต์ – ชั่วโมง เทียบเท่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งปีของประเทศญี่ปุ่น และดาต้าเซนเตอร์ไม่ได้หิวแค่พลังงานเท่านั้น แต่มันยังกระหายด้วย เนื่องจากอุปกรณ์ศูนย์ข้อมูลจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อทำการประมวลผลข้อมูล จึงต้องใช้น้ำปริมาณมากเพื่อช่วยระบายความร้อน
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพด้วยข้อมูลจาก China Water Risk สถาบันคลังสมองในฮ่องกง คาดว่า ดาต้าเซนเตอร์ในจีนอาจใช้น้ำมากถึง 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ภายในปี 2573 มากกว่าการใช้น้ำของประชาชนในสิงคโปร์ในหนึ่งปี
ยิ่งรักษ์โลกยิ่งมีต้นทุนสูง
การเติบโตอย่างรวดเร็วของเอไอ และศูนย์ข้อมูล สร้างแรงกดดันในการบรรลุเป้าหมายยั่งยืนต่อบริษัทเอไอหลายแห่งที่เคยให้คำมั่นว่าจะหันไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพราะยิ่งเทคโนโลยีช่วยประหยัดพลังงานมากเท่าไร ต้นทุนของธุรกิจจะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น และหากโมเดลเอไอมีขนาดใหญ่ ยิ่งต้องใช้ชิปและพลังงานมากขึ้น นำไปสู่ค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ และค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
อักษรา บาสซี นักวิเคราะห์วิจัยอาวุโสจาก Counterpoint Technology Market Research ยกตัวอย่างการฝึกโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่ระดับ 10 ล้านล้านพารามิเตอร์ภายใน 90 วัน ซึ่งกำลังเป็นโมเดลเป้าหมายในกลุ่มธุรกิจเอไอ ว่า อาจต้องใช้ชิปเอไอ H100 ของอินวิเดียมากกว่า 2 ล้านชิ้น ซึ่ง 1 ชิ้นมีราคามากกว่า 30,000 ดอลลาร์ (ราว 1.1 ล้านบาท) ดังนั้น งบประมาณซื้อชิป 2 ล้านชิ้น ทำให้มีต้นทุนสูงเสียดฟ้า และอาจมีค่าไฟฟ้าแพงเกินจะจ่ายไหว
ชิปประหยัดไฟยังไม่พอ
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาด้วยการผลิตชิปประหยัดพลังงานอย่างเดียวยังไม่พอ
อเล็กซ์ เฉิน ผู้ก่อตั้ง และหัวหน้านักวิทยาศาสตร์จาก Nexa AI เชื่อว่า อุตสาหกรรมเอไอไม่ควรสร้างโมเดลที่ใหญ่เกินไป เพราะโมเดลขนาดเล็กสามารถขับเคลื่อนการประมวลผลได้เทียบเท่ากับโมเดลขนาดใหญ่เช่นกัน แต่โมเดลที่มีขนาดเล็กยังมีข้อจำกัด และการฝึกเอไอหรือการใช้เอไอส่วนใหญ่ยังคงต้องมีฐานคลาวด์ และคลาวด์ต้องพึ่งดาต้าเซนเตอร์จากทั่วโลก
อย่างไรก็ดี บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ระดับโลกที่ให้บริการเอไอต่างให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน อาทิ พยายามหาหรือลงทุนสร้างแหล่งพลังงานสะอาด หรือพลังงานหมุนเวียนในเอเชีย เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับดาต้าเซนเตอร์ แต่แหล่งพลังงานบางแห่งในเอเชียยังไม่สามารถบรรลุระดับพลังงานที่ปราศจากคาร์บอนในปริมาณมากได้ เนื่องจากอุปสรรคหลายด้าน เช่น ราคาพลังงานแพง, ความเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าระดับภูมิภาคมีจำกัด และขาดการแข่งขันในตลาดประมูลซื้อขายไฟฟ้า
นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาต้นทุนด้านสภาพอากาศของเอไอคงต้องใช้เวลาสักพักกว่ารัฐบาลในเอเชียจะเข้ามามีบทบาท และปัจจุบันในเอเชียยังไม่มีมาตรการบังคับใช้เกี่ยวกับการจำกัดการใช้พลังงาน หรือการใช้น้ำ หรือการปล่อยคาร์บอนของดาต้าเซนเตอร์
Source : กรุงเทพธุรกิจ