News & Update

เกษตรฯ หนุนปลูกพื้นพลังงานในพื้นที่เกษตร

กระทรวงเกษตรฯ ส่งเสริมเกษตรกรเพิ่มรายได้ ปลูกพืชพลังงานในพื้นที่ทำการเกษตร เพื่อสร้างเสถียรภาพทางด้านพลังงานให้แก่ประเทศ

วันนี้ (19 พ.ค.65) นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรรมการร่วมการสร้างความมั่นคงอย่างยั่นยืนให้แก่เกษตรกรด้วยการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากพืชพลังงาน เพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 1/2565 โดยมีนางดาเรศร์ กิตติโยภาส คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการร่วมฯ พร้อมด้วย นายธัญญา เนติธรรมกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน สภาอุตสาหกรรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1403 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผ่านระบบ Cloud Zoom Meeting

เกษตรฯ หนุนปลูกพื้นพลังงานในพื้นที่เกษตร

นายสมชวน กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) มีความห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกในพื้นที่ทำการเกษตรที่ขาดศักยภาพ จึงวางแนวทางในการส่งเสริมการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรโดยการปลูกพืชพลังงานในพื้นที่ทำการเกษตรที่ยังขาดศักยภาพ รวมถึงส่งเสริมให้มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อสร้างเสถียรภาพทางด้านพลังงานให้แก่ประเทศ

เกษตรฯ หนุนปลูกพื้นพลังงานในพื้นที่เกษตร

นายสมชวน กล่าวต่อไปว่า จากแนวทางดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ร่วมลงนามความร่วมมือการสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนของพืชพลังงาน เพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564

โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากพืชพลังงาน 2.เพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากภายใต้แนวทางตลาดนำการผลิต และ 3) เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนและสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ

ภายใต้ร่างความร่วมมือฯ ดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรรมการร่วมการสร้างความมั่นคงอย่างยั่นยืนให้แก่เกษตรกรด้วยการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากพืชพลังงาน เพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยมีอำนาจหน้าที่ อาทิ กำหนดแผนส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากพืชพลังงาน การกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่มีศักยภาพ การจัดทำแนวทางส่งเสริม การพิจารณาแนวทางการจัดทำโครงการนำร่องเพื่อเป็นต้นแบบและสามารถนำไปสู่การขยายผลในระยะต่อไป เป็นต้น

เกษตรฯ หนุนปลูกพื้นพลังงานในพื้นที่เกษตร

ในการนี้ ที่ประชุมได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมฯ  7 กิจกรรมได้แก่

  1. การพิจารณาระดับความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกพืชพลังงาน 
  2. โครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน
  3. แผนส่งเสริมการปลูกแทนของการยางแห่งประเทศไทย
  4. การจัดการพื้นที่ไม่เหมาะสม ไม้เศรษฐกิจโตเร็ว
  5. แนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนไปผลิตพืชพลังงาน
เกษตรฯ หนุนปลูกพื้นพลังงานในพื้นที่เกษตร

6. ความเสี่ยงหรือความเป็นไปได้ที่อาจเกิดการผิดสัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญา และ
7. แนวทางการพิจารณาอัตรารับซื้อไฟฟ้าและเชื้อเพลิงชีวมวล

อีกทั้งที่ประชุมยังร่วมกันพิจารณา และให้ความเห็นชอบ ร่างกรอบแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการร่วมฯ ทั้ง 7 กิจกรรรม ซึ่งจะเร่งขับเคลื่อนในแต่ละกิจกรรมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในการสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร ชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน รวมถึงสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศต่อไป

Source : ฐานเศรษฐกิจ

เนื้อหาน่าสนใจ :  ตลาดคาร์บอนเครดิตไทย เติบโตต่อเนื่อง ซื้อขายรวมแล้ว 299 ล้านบาท

“Green Job” งานแห่งอนาคต 1 ใน 10 อันดับ โตเร็ว 5 ปีข้างหน้า

ในวันที่ทั่วโลกหันมามองเรื่องของ Sustainability ทำให้เรื่องของความยั่งยืนไม่ใช่แค่การทำเพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กรอีกต่อไป แต่ถูกฝังอยู่ในตัวองค์กร ในผลิตภัณฑ์ และบริการ ซึ่งนั่นทำให้เทรนด์งานใหม่แห่งอนาคตอย่าง Green Job ถูกพูดถึงกันมากขึ้น…

ราคา LPG โลกพุ่งรับฤดูหนาว กองทุนน้ำมันฯ เร่งชดเชย 9 บาทต่อ กก. พยุงราคาขายปลีก 423 บาทต่อถังขนาด 15 กก.จนถึงสิ้นปี 2566 ให้ได้

ราคา LPG โลกเริ่มขยับขึ้นสูงกว่า 600 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน และมีแนวโน้มพุ่งขึ้นอีก เหตุเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวในต่างประเทศ กองทุนน้ำมันฯ เร่งเข้าชดเชยราคาจำหน่ายปลีก LPG…

อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้ากระอัก กราไฟท์ขาดแคลนผลิตแบตเตอรี่ไม่ได้

การขาดแคลนกราไฟท์วัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ที่ใช้ในยานยนต์ไฟฟ้าอาจต้องชะลอการขับเคลื่อนทั่วโลกให้เป็นสีเขียว แบตเตอรี่รถยนต์ขาดแคลน เพราะ กราไฟต์ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ประสบปัญหาการขาดแคลนอุปทานท่ามกลางความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่พุ่งสูงขึ้น อาจชะลอการขับเคลื่อนทั่วโลกให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กราไฟต์ใช้สำหรับการเป็นขั้วลบของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่เรียกว่าแอโนด ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกมักใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพื่อขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า (EV) จอร์จ…

Leave a Reply