Highlight & Knowledge

6 สิ่งต้องเช็ค ก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน

รถยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ด้วยข้อดีในเรื่องของความประหยัด ทั้งค่าใช้จ่ายในการชาร์จไฟ และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถ ที่ต่ำกว่ารถใช้น้ำมันเป็นอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าการซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ จำเป็นต้องวางแผนเรื่องการชาร์จไฟให้กับรถตัว ใครที่อยู่คอนโดไม่มีสถานีชาร์จ ก็อาจจะต้องไปชาร์จที่สถานีชาร์รถไฟฟ้าตามที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปั๊มน้ำมัน ศูนย์บริการรถยนต์บางยี่ห้อ ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่บริการของเอกชนต่างๆ แต่ใครที่มีบ้าน อยากแนะนำว่าให้ติดตั้ง EV Charger ไว้ที่บ้าน ซึ่งจะได้รับความสะดวกมากที่สุด แต่ก่อนจะติดตั้งแนะนำให้ตรวจสอบความพร้อมของบ้านก่อนกันครับ

รู้จักกับ EV Charger กันก่อน

เราเริ่มต้นกับการทำความรู้จัก EV Charger กันก่อนครับ อธิบายง่ายๆ ก็คือ อุปกรณ์สำหรับชาร์จไฟให้กับรถยนต์ไฟฟ้านั่นเอง หรือบางคนอาจจะเรียกว่า สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าก็ได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

  1. Quick Charger แบบ DC เป็นรูปแบบของระบบการชาร์จด้วยตู้ EV Charger ที่มีการจ่ายไฟกระแสตรง (DC) เข้าไปที่แบตเตอรี่โดยตรง ซึ่งจะใช้เวลาชาร์จที่น้อยกว่าแบบอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกำลังชาร์จที่ตู้ชาร์จสามารถทำได้ รวมถึงกำลังชาร์จที่รถยนต์ไฟฟ้านั้นรองรับด้วย ปัจจุบันนี้เราจะพบตู้ชาร์จแบบ DC ได้ตามสถานีชาร์จต่างๆ ตามปั๊มน้ำมัน ศูนย์บริการรถยนต์ และสถานที่บริการของเอกชนต่างๆ
  2. Normal Charger (Double Speed Charge) ในรูปแบบ Wall Box หรือเป็นกล่องตู้ติดตั้งอยู่ที่บ้านนั่เอง ซึ่งจะเป็นการชาร์จด้วยไฟกระแสสลับ (AC) พบตามบ้านทั่วไป รวมถึงโรงแรม และห้างสรรพสินค้าต่างๆ ซึ่งลักษณะการทำงานก็จะมีการแปลงไฟกระแสสลับให้เป็นไฟกระแสตรง แบบนี้จะใช้เวลาชาร์จค่อนข้างนาน เรียกว่าเหมาะกับคนที่ต้องการชาร์จรถที่บ้านมาก เสียบสายชาร์จตั้งแต่กลับบ้านช่วงเย็นๆ แล้วก็ไปนอน เช้ามาก็เต็มพอดี แนวๆ นี้ครับ ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับกำลังไฟตัวตู้ชาร์จ และการรองรับของรถยนต์ไฟฟ้าด้วย โดยเฉลี่ยอยู่อยู่ 4 – 9 ชั่วโมง
  3. Normal Charger แบบอุปกรณ์เต้ารับ ลักษณะก็จะเหมือนการต่อไฟจากบ้านเขารถโดยตรงผ่านตัวอุปกรณ์ ซึ่งบ้านที่จะสามารถจ่ายไฟได้ จะต้องติดตั้งมิเตอร์แบบ 15(45)A เพราะว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะต้องใช้กระแสไฟฟ้าสูงขณะทำการชาร์จนั่นเอง นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบสายไฟ สะพานไฟ ด้วยว่าสามารถรองรับได้หรือไม่ และอุปกรณ์ชาร์จควรจะมีระบบตัดไฟอัตโนมัติ หรือตัดไฟเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินด้วย สำหรับระยะเวลาในการชาร์จแบบนี้จะช้าที่สุดครับ เวลาที่ใช้ราวๆ 12 – 15 ชั่วโมง

6 สิ่งต้องเช็ค ก่อนติดตั้ง EV Charger

ตอนนี้ก็มาดูกันว่า เราจะต้องเช็คอะไรบ้าง ก่อนจะติดตั้ง EV Charger ไว้ใช้ที่บ้าน สำหรับคำแนะนำจากทางการไฟฟ้านครหลวงนั้น ก็แนะนำไว้ 2 อย่างหลักๆ เลยก็คือ แนะนำให้เพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า เป็น 30(100)A แบบเฟสเดียว หรือ 30(100)A แบบ 3 เฟส และบ้านไหนไม่สะดวกที่จะปรับปรุงระบบไฟฟ้าใหม่ ให้ทำการขอติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่ 2 สำหรับ EV Charger โดยเฉพาะไปเลย โดยสามารถเลือกใช้มิเตอร์แบบ TOU ได้อีกด้วย

1.ตรวจสอบขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้าน

เริ่มจากดูขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านเราก่อน ถ้าใครไม่ทราบแนะนำให้ดูที่มิเตอร์ไฟฟ้าที่ติดตั้งบริเวณหน้าบ้าน หรือสอบถามจากการไฟฟ้าใกล้บ้าน สำหรับคำแนะนำจากการไฟฟ้า สำหรับไฟ 1 เฟส ต้องมีขนาดมิเตอร์ 30 แอมป์ขึ้นไป ส่วนไฟ 3 เฟส แนะนำว่าต้องมีขนาดมิเตอร์ 15/14 แอมป์

2.ขนาดสายไฟเมนของบ้าน

สำหรับขนาดของสายไฟเมนที่เชื่อมต่อมายังตู้ควบคุม ต้องมีขนาด 256 ตารางมิลลิเมตร หรือขนาดที่ใหญ่กว่านี้ ซึ่งขนาดที่ว่านี้เป็นขนาดของเส้นทองแดง นอกจากนี้ตู้ควบคุม Main Circuit Breaker ควรใช้ตู้ที่รองรับกระแสไฟได้สูงสุดไม่เกิน 100 แอมป์

3.ตู้ควบคุมไฟฟ้า Main Circuit Breaker

ตู้ควบคุมไฟฟ้าของบ้านจะต้องรองรับกระแสไฟสูงสุดไม่เกิน 100 แอมป์ มีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker , 1P ขนาด 16A ซึ่งจะต้องเป็นช่องแยกจ่ายไฟออกมาจากส่วนอื่นๆ

4.เครื่องตัดไฟรั่ว RCD (Residual Current Devices)

เราควรติดตั้งเครื่องตัดวงจร กรณีการรัดวงจรของอุปกรณ์​ มีค่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้าออกไม่เท่ากัน รวมถึงสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ไฟรั่ว ไฟเกินอีกด้วย ซึ่งเครื่องตัดไฟรั่วจะทำการตรวจสอบกระแสไฟที่ไหลผ่าน หากพบกว่ามีกระแสไฟที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการหายไปบางส่วน เช่น รั่วไหลไปลงดิน รั่วไหลไปสู่อุปกรณ์อื่นๆ เพราะมีการชำรุดของอุปกรณ์ ก็จะทำหน้าที่ตัดไฟ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟดูด หรือเกิดไฟไหม้ อีกทั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ดีควรมีระบบตัดไฟอย่างน้อย RCD Type B หรือเทียบเท่า

5.เต้ารับ EV Socket Outlet

สำหรับเสียบสายชาร์จ เป็นชนิด 3 รู ต้องทนต่อกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16 A ตาม มอก.166-2549 หรืออาจเป็นเต้าสำหรับอุตสาหกรรม ต้องมีหลักดิน ซึ่งแนะนำให้แยกออกจากหลักดิน ของระบบไฟเดิมของบ้าน โดยใช้สายต่อหลักดิน เป็นสายหุ้มฉนวน ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร ส่วนหลักดิน ควรมีขนาด 16 มิลลิเมตร ยาว 2.4 เมตร ตามมาตรฐาน และการต่อสายดินกับหลักดิน ควรเชื่อมต่อกันด้วยความร้อน

6.ตำแหน่งการติดตั้ง EV Charger

ให้สำรวจบริเวณบ้าน ตำแหน่งที่เราจอดรถก่อนว่า มีพื้นที่เพียงพอต่อการจอดรถ และเสียบสายชาร์จหรือไม่ คำแนะนำก็คือ ควรมีระยะห่างระหว่าง EV Charger กับตัวรถไม่เกิน 5 เมตร และพื้นที่นั้นควรจะเป็นที่ร่มมีหลังคา กันแดด กันฝนได้

สำหรับท่านที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแล้วมีโปรโมชั่นแถม EV Charger มาให้เรียบร้อย ก็จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไรมากนัก เพราะจะมีช่างมาช่วยตรวจสอบให้เราทั้งหมด รวมถึงติดตั้งให้เรียบร้อยด้วย แบบนี้ก็จะสะดวกหน่อย แต่ถ้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ซื้อแล้ว เราต้องมาติดตั้งเอง ก็แนะนำให้ตรวจสอบให้ดีก่อน หากเราไม่ได้มีความชำนาญเรื่องพวกนี้ ไม่แนะนำให้ซื้อตามออนไลน์แล้วมาติดตั้งเองนะครับ เพราะมีความเสี่ยงในเรื่องของไฟฟ้าค่อนข้างสูง ลองหาช่างหรือบริษัทที่รับติดตั้งมาจัดการให้จะดีทึ่สุดครับ

เนื้อหาน่าสนใจ :  รู้จักกับ "คาร์บอนเครดิตป่าไม้" คืออะไร? มีข้อกำหนดอะไรบ้าง

ภาพประกอบ : Freepik

5 รถยนต์ไฟฟ้า ราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท รุ่นยอดนิยม ปี 2024

ตอนนี้รถยนต์ไฟฟ้ากำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เรียกได้ว่าใครจะซื้อรถใหม่ตอนนี้ ต้องมีรถยนต์ไฟฟ้าเป็น 1 ในตัวเลือกอย่างแน่นอน มีรถยนต์ไฟฟ้าเปิดจำหน่ายในบ้านเรามากมายหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เดิมๆ ที่จำหน่ายรถน้ำมันมาก่อน และแบรนด์น้องใหม่ ที่ส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน…

ฉายภาพ 4 มิติรับยุคพลังงานสะอาด

ในสถานการณ์ที่ทั่วโลกเผชิญวิกฤตราคาพลังงานจากสถานการณ์สงครามรัสเซีย – ยูเครน ทำให้การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์เทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดถูกกระชับพื้นที่เข้ามาเร็วยิ่งขึ้นเพื่อแสวงหาพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีความผันผวน ทิศทางของโลกจึงมุ่งสู่สังคมไร้คาร์บอน โดยประเทศไทยได้วางเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon…

Leave a Reply