Highlight & Knowledge

10 คำถามสุดฮิตก่อนติดโซล่าร์เซลล์ที่บ้าน (Solar Rooftop)

ใครที่คิดกำลังจะติดโซล่าร์เซลล์ที่บ้าน แนะนำให้อ่านเนื้อหาในบทความนี้ก่อน อาจจะช่วยให้การตัดสินใจทำได้ง่ายขึ้น คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ซึ่งเนื้อหาก็เป็นการนำเสนอจากทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้รวมเอา 10 คำถามหรือข้อสังสัยต่างๆ เกี่ยวกับการติดโซล่าร์เซลล์ที่บ้านอยู่อาศัยแบบ Solar Rooftop มาไว้เป็นข้อมูล ซึ่งเชื่อว่าตอนนี้หลายคนเจอค่าไฟแพงๆ เข้าไป ก็อาจจะกำลังหาวิธีลดค่าไฟ ซึ่งหนึ่งในวิธีที่คนคิดถึงมากที่สุดนอกจากการประหยัดไฟ การเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว ก็คือ การลงทุนติดตั้งโซล่าร์เซลล์แบบ Solar Rooftop นั่นเอง มาดูกันว่า 10 คำถามนั้นมีอะไรบ้างครับ

1. บ้านของเราเหมาะกับการติดตั้ง Solar Rooftop หรือไม่ ?

  • ถ้าบ้านของเรามีการใช้ไฟช่วงกลางวันค่อนข้างมาก มีคนอยู่บ้านตอนกลางวันตลอด หรือที่บ้านทำเป็น Home Office ร้านค้า หรือร้านกาแฟ แบบนี้จะสามารถใช้ไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ได้เต็มที่ การติดตั้งจะได้ความคุ้มค่าที่สูงมาก และคืนทุนได้ไว้
  • ที่บ้านมีการใช้อุปกรณ์ที่ใช้ไฟเยอะๆ เช่น แอร์ ตู้เย็น และตู้แช่ เป็นต้น

คำแนะนำ : ไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ที่คุ้มค่าที่สุด จะนิยมติดตั้งเป็นระบบที่ใช้ร่วมกับระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าได้

2. หลังคาบ้านเราเหมาะกับการติดตั้งหรือไม่ ?

  • บ้านที่จะติดตั้งต้อง ย้ำว่าต้องมีโครงสร้างของหลังคาที่แข็งแรง และสามารถรองรับน้ำหนักของแผงโซล่าร์เซลล์ได้
  • หลังคาบ้านที่ติดตั้งจะต้องไม่มีเงาต้นไม้ใหญ่ หรือมีอาหารและสิ่งปลูกสร้งต่างๆ มาบดบังแสดงแดด

คำแนะนำ : หลังคาบ้านควรมีความลาดเอียงประมาณ 15 องศา และหันไปได้ทางทิศใต้ จะมีความเหมาะสมในการผลิตไฟฟ้าได้ดีที่สุด

3. ติดตั้งขนาดเท่าไร จึงจะเหมาะสม ?

  • ขนาด 3 กิโลวัตต์ เหมาะกับบ้านที่ใช้ แอร์เบอร์ 5 แบบ 1 ดาว 12,000 BTU 2 เครื่อง + ตู้เย็น 12 คิว + หลอดไฟ
  • ติดตั้งขนาด 5 กิโลวัตต์ เหมาะกับบ้านที่ใช้ แอร์เบอร์ 5 แบบ 1 ดาว 12,000 BTU 4 เครื่อง + ตู้เย็น 12 คิว 2 เครื่อง + หลอดไฟ
  • ขนาดที่นิยมติดตั้ง 3, 5, 10 กิโลวัตต์ เลือกได้ตามขนาด/จำนวนอุปกรณ์ที่ใช้

คำแนะนำ : หากเลือกขนาดใหญ่เกินความจำเป็น ต้องลงทุนสูงและคืนทุนช้า

4. พื้นที่หลังคาที่ใช้ติดตั้ง ต้องขนาดใหญ่แค่ไหน ?

  • ขนาด 1 กิโลวัตต์จะใช้พื้นที่ประมาณ 4 – 5 ตารางเมตร ถ้าใช้ขนาดใหญ่กว่านั้นก็คูณจำนวนพื้นที่เพิ่มไป เช่น ขนาด 3 กิโลวัตต์ ก็จะใช้พื้นที่ 1 2 – 15 ตารางเมตร
  • ควรตรวจสอบลักษณะและประเภทของกระเบื้องหลังคา ว่ามีความแข็งแรงเพียงพอหรือไม่

คำแนะนำ : ปกติหลังคาบ้านส่วนใหญ่จะมีพื้นที่เพียงพอต่อการติดตั้งอยู่แล้ว ยกเว้นจะมีการสร้างบ้านที่มีการแบ่งหลังคาออกเป็นหลายส่วนตามรูปแบบบ้าน

5. เงินลงทุนในการติดตั้งระบบ และระยะเวลาคืนทุน?

  • เงินลงทุนที่ใช้จะอยู่ประมาณ 40,000 – 45,000 บาทต่อ 1 กิโลวัตต์ ระยะเวลาคืนทุนโดยประมาณ 6 ปี
  • ราคาจะมีความแตกต่างกันไปตามอุปกรณ์ และผู้ให้บริการ ควรสอบถามหลายๆ ที่ ก่อนตัดสินใจ
  • อย่าลืมเปรียบเทียบบริการหลังการขายด้วย ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้ระบบผลิตไฟได้เต็มประสิทธิภาพ เช่น การตรวจสอบอุปกรณ์ประจำปี การทำความสะอาดแผงโซล่าร์เซลล์ เป็นต้น

คำแนะนำ : การลงทุนติดตั้งระบบที่มีขนาดใหญ่ จะทำให้เงินลงทุนต่อ 1 กิโลวัตถ์ถูกลง

6. ประหยัดไฟได้แค่ไหน ?

  • ขนาด 3 กิโลวัตต์ จะผลิตไฟได้ประมาณวันละ 12 หน่วย (หรือ 360 หน่วยต่อเดือน) หากราคาค่าไฟการไฟฟ้าหน่วยละ 5 บาท จะประหยัดค่าไฟได้ 1,800 บาทต่อเดือน (หรือปีละ 21,600 บาท)
  • คิดระยะเวลาคืนทุน จากการลงทุน ขนาด 3 กิโลวัตต์ ค่าลงทุนประมาณ 120,000 – 135,000 บาท ประหยัดได้ปีละ 21,600 บาท ดังนั้น มีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 6 ปี

คำแนะนำ : หากใช้แผงโซล่าร์เซลล์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีคุณภาพสูงขึ้น จะผลิตไฟได้เต็มกำลังมากขึ้น ช่วยให้คืนทุนได้ไวมากขึ้น

7. ต้นทุนไฟที่ผลิตจากโซล่าร์เซลล์ คิดยังไง?

  • ระบบขนาด 3 กิโลวัตต์ หากคิดตลอดอายุระบบ Solar Rooftop 15-20 ปี จะผลิตไฟได้ 360 หน่วย/เดือน x 12 เดือน x 15 ปี = 64,800 หน่วย เมื่อคิดค่าลงทุน 120,000 – 135,000 บาท จะมีราคาต้นทุนประมาณ 2 บาทต่อหน่วย

คำแนะนำ : ต้นทุนต่อหน่วยข้างต้น ยังไม่รวมค่าบำรุงรักษารายปี เช่น การล้างแผง การตรวจสอบรายปี อาจทำให้ต้นทุนสูงขึ้นอีกประมาณ 10%

8. อยากติดตั้ง ต้องเริ่มอย่างไรดี ?

  • เลือกผู้ให้บริการติดตั้ง ปัจจุบันมีผู้ให้บริการจำนวนมากราย ทั้งการไฟฟ้า และบริษัทที่ให้บริการติดตั้ง Solar Rooftop
  • การขออนุญาตต่างๆ ส่วนใหญ่ผู้ให้บริการติดตั้งจะเป็นผู้ดำเนินการให้ด้วย
  • ผู้ให้บริการเข้าสำรวจพื้นที่ติดตั้ง ออกแบบ และเข้าดำเนินการติดตั้ง โดยทั่วไปใช้เวลาโดยรวมไม่เกิน 1 เดือน

คำแนะนำ : ควรเลือกผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ โดยอาจพิจารณาจากประสบการณ์/ผลงานที่ผ่านมา/คุณภาพ การให้บริการ/บริการหลังการขาย/การรับประกันสินค้า

9. อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ เราจะพิจารณาจากอะไรได้บ้าง?

  • แผง Solar ตรวจสอบตามมาตรฐานที่ได้รับ มอก. 61215 หรือมาตรฐาน IEC 61215 เป็นอย่างน้อย
  • อุปกรณ์ Inverter สามารถตรวจสอบรายชื่อรุ่นที่การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้การรับรองได้ทางเว็บไซต์ของการไฟฟ้า
  • ศึกษาเปรียบเทียบการเลือกใช้อุปกรณ์ของผู้ให้บริการติดตั้งแต่ละรายเพื่อประกอบการพิจารณา
เนื้อหาน่าสนใจ :  ร่างกฏหมายกลไกการปรับคาร์บอนการข้ามพรมแดน (CBAM)

คำแนะนำ : เราสามารถศึกษาข้อกำหนดการติดตั้ง Solar Rooftop และการเชื่อมต่อระบบของแต่ละการไฟฟ้า ได้จากเว็บไซต์ของ กฟน. กฟภ.

10. การขออนุญาตต่างๆ ต้องทำอย่างไรบ้าง?

  • ขอใบอนุญาตเกี่ยวกับการก่อสร้าง หรือดัดแปลงอาคาร กับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งใช้เวลาดำเนินการ 45 วัน
  • ยื่นแบบติดตั้ง และการขอจดแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงานกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th)
  • แจ้ง กฟน. กฟภ. ตรวจสอบระบบ และเชื่อมต่อระบบ

คำแนะนำ : ผู้ให้บริการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ บางรายจะมีบริการขออนุญาตให้ฟรี ซึ่งจะทำการติดต่อ ทำเอกสาร ให้เราทั้งหมด ก่อนจะเลือกใช้บริการก็สอบถามผู้ให้บริการก่อนได้เลย

StoreDot แบตเตอรี่สำหรับรถ EV ชาร์จจาก 10% ไป 80% ได้ใน 10 นาที

StoreDot EV Battery คือแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าชนิดใหม่ ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท StoreDot สตาร์ทอัพสัญชาติอิสราเอล มีความพิเศษกว่าแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นเดิมๆ ที่เด่นชัดมากทึ่สุดคือ ความเร็วในการชาร์จแบตจาก…

โซล่าร์คอนเทนเนอร์ พับได้ กางได้ นวตกรรมใหม่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เราอาจจะเคยเห็นตู้คอนเทนเนอร์พลังงานแสงอาทิตย์ หรือจะเป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่นำมาดัดแปลงติดโซล่าร์เซลล์กันไปแล้ว ล่าสุดมีนวตกรรมใหม่เป็นโซล่าร์คอนเทนเนอร์ออกมาให้เราได้เห็นกัน ซึ่งความแตกต่างก็คือ จะไม่ใช่ตู้คอนเทนเนอร์แบบที่ใช้โซล่าร์เซลล์แบบเดิมๆ แต่จะเป็นการออกแบบแผงโซล่าร์เซลล์จำนวนมาก ให้สามารถพับเก็บและยืดออกได้ โดยในการพับเก็บนั้นจะประกบกันเข้าไปเป็นตู้คอนเทนเนอร์นั่นเอง โดยโซล่าร์คอนเทนเนอร์ จะรูปร่างหน้าตาเหมือนกับตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่…

เงินฝากสีเขียว เงินฝากรูปแบบใหม่ เพื่อสิ่งแวดล้อม

ด้วยกระแสของพลังงานสะอาด พลังงานทดแทนต่างๆ ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการคิดค้นนวตกรรม และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาดออกมา มากมาย แม้แต่ธนาคาร ก็ยังมีผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงินสีเขียว (Green…

Leave a Reply