Highlight & Knowledge

รู้จักกับ ข้าวลดโลกร้อน จากชาวนารักษ์โลก

ไม่น่าเชื่อว่าการปลูกข้าวก็สามารถทำให้โลกร้อนได้เช่นกัน นั่นเป็นเพราะว่า การปลูกข้าวแบบเดิมๆ นั้น จะมีการปล่อยให้น้ำขังอยู่ในนานั่นเอง ซึ่งก่อให้เกิดการหมักหมมทำให้เกิดก๊าซมีเทนที่เป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อน ดังนั้นจะมีการคิดค้นวิธีการปลูกข้าวแบบใหม่ ให้เป็น ข้าวลดโลกร้อน ภายใต้โครงการที่มีชื่อว่า “Thai Rice NAMA (ไทยไรซ์ นามา)”

โครงการ “Thai Rice NAMA (ไทยไรซ์ นามา)” เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 – 2566 ได้รับทุนสนับสนุนโครงการจากกองทุนที่ก่อตั้งโดยอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (NAMA Facility) 14.9 ล้านยูโร หรือประมาณ 513 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวรายย่อยของไทยใน 6 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี และสุพรรณบุรี จำนวน 100,000 ครัวเรือนให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการทำนาลดโลกร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าว และปรับเปลี่ยนสู่การผลิตข้าวที่ปล่อยมลพิษต่ำ

ข้าวลดโลกร้อน ปลูกยังไง?

สำหรับกระบวนการปลูกข้าวลดโลกร้อนนั้น จะเป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตข้าวนั่นเอง โดยจะใช้เทคโนโลยี 4 ประเภท ประกอบไปด้วย การปรับหน้าดิน ลดการใช้น้ำ การใช้ปุ๋ยตามสภาวะของดิน และการจัดการฟางข้าว และตอซัง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดโลกร้อนได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มผลผลิตข้าว ได้ข้าวที่มีคุณภาพดีขึ้น และยังขายได้ราคาดีกว่าเดิมอีกด้วย ทั้งนี้ยังช่วยลดต้นทุนการผลิต และลดการใช้น้ำอีกด้วย ตอนนี้มาดูว่า 4 เทคโนโลยีที่ใช้มีรายละเอียดอย่างไรกันบ้างครับ

1.เทคโนโลยีปรับหน้าดินด้วยระบบเลเซอร์ (Laser Land Leveling)

เทคโนโลยีนี้จะเข้ามาทำการปรับหน้าดินของพื้นที่นาข้าว ให้มีความราบเรียบเสมอกัน โดยจะเป็นการเกลี่ยดินในแปลงนาทั้งหมด ในระดับความคลาดเคลื่อนบวกลบไม่เกิน 2 เซนติเมตรทั่วทั้งแปลง ซึ่งก็จะช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าเชื้อพลังสำหรับน้ำไปใช้เพื่อการสูบน้ำเข้าที่นา ลดการสุญเสียปุ๋ย และข้าวได้รับปุ๋ยสม่ำเสมอทั่้งกันทั้งแปลงนา นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดน้ำมากขึ้นราวๆ 30 – 50 % เลยทีเดียว

2.การใช้ปุ๋ยตามสภาวะของดิน

ในการวิเคราะห์ดินนั้น ชาวนาสามารถเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำส่งตรวจกับทางกรมพัฒนาที่ดินในพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์ดูคุณภาพของดินว่ามีความสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน และถ้าจะใช้ปุ๋ยต้องมีอัตราส่วนเท่าไหร่ ซึ่งบางท่านก็เรียกปุ๋ยประเภทนี้ว่า ปุ๋ยสั่งตัด ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับดินในแปลงนาที่มีการวิเคราะห์มาเรียบร้อยแล้ว โดยมีหลักการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง 4 ประการ ได้แก่ 1.ชนิดปุ๋ยที่ถูกต้อง (Right Kind) 2.อัตราปุ๋ยที่ถูกต้อง (Right Rate) 3.ใช้ปุ๋ยให้ถูกจังหวะเวลา (Right Time) 4.ใส่ปุ๋ยในบริเวณที่ถูกต้อง (Right Place) จะช่วยลดต้นทุนการใช้ปริมาณปุ๋ยที่มากเกินความจำเป็น และรักษาแร่ธาตุในดิน สร้างสมดุลของแร่ธาตุทำให้ดินมีความสมบูรณ์มากขึ้น ก็จะช่วยให้ข้าวมีคุณภาพดีขึ้น ดินก็มีความสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น และมีคุณภาพที่ดีกว่าเดิม ลดการใช้ปุ๋ยที่ไม่จำเป็นและมากเกินไป

3.การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง

เนื่องจากการทำนาแบบเก่า จะมีการขังน้ำไว้ในนา ทำให้แปลงนามีการหมักหมมทำให้เกิดก๊าซมีเทนที่เป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อน รวมถึงยังเป็นแหล่งเพราะโรคต่างๆ รวมถึงเพิ่มจำนวนแมลงที่เป็นศัตรูพืชอีกด้วย ซึ่งเป็นต้นเหตุในการใช้พวกยาฆ๋าแมลงที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้นการปรับเปลี่ยนการทำนาแบบเปลี่ยนสลับแห้งก็จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ วิธีการนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร สามารถใช้การวางท่อพีวีซีไว้ใต้ดิน และเจาะรูรอบท่อ ตามคำแนะนำคือ ใช้ต่อพีวีซีขนาด 4 นิ้ว ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร เจาะรูรอบๆ ท่อ และวางเป็นแถว แต่ละแถวห่างกัน 5 เซนติเมตร ซึ่งจะมีการให้น้ำแต่ต้นข้าวในระยะที่ข้าวต้องการเท่านั้น วิธีนี้จะช่วยให้การแตกกอ และความสมบูรณ์ของรวงข้าวดีขึ้นกว่าเดิม และแน่นอนว่าจะช่วยประหยัดน้ำ ประหยัดค่าเชื้อเพลิงในการสูบน้ำได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมราวๆ 50%

4.การจัดการฟางข้าว และตอซัง

เป็นวิธีการหยุดเผาฟาง และตอซังข้าว รวมถึงวัสดุที่เหลือใช้ในนาข้าว เพื่อช่วยลดฝุ่นละอองและหมกควันต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการเผา และยังลดการทำลายธาตุอาหารบริเวณหน้าดินอีกด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ดินเสื่อม ซึ่งในการเผาแต่ละครั้งจะทำให้ธาตุอาหารอย่างฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมถูกทำลายไปด้วย และในการเผายังก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5 และเกิดก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย โดยคำแนะนำในการจัดการก็ให้ทำอัดฟางเป็นก้อน เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ จากนั้นให้ทำการไถกลบตอซังแล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนก่อนการเตรียมดิน มีแนวโน้มให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าข้าวที่ปลูกในแปลงที่มีการเผาฟาง โดยการไถกลบตอซังแล้วปล่อยทิ้งไว้ 15 วัน ในสภาพดินแห้งถึงชื้นก่อนเตรียมดินปลูกข้าว จะสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวลงได้ในฤดูที่ 2 และฤดูต่อๆ ไป โดยข้าวให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวของ ข้าวลดโลกร้อน ซึ่งความจริงแล้วทำกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ในช่วงนั้นก็มีข่าวเผยแพร่ออกมามากมาย แต่ก็ยังไม่มีใครรู้เรื่องราวสักเท่าไหร่นัก ทางทีมงานเลยขอเก็บเอามาฝากกันอีกครั้ง เพราะใกล้จะจบโครงการในปีนี้แล้ว เผื่อใครเห็นแล้วสนใจก็จะได้นำไปปรับใช้กับการปลูกข้าวของตัวเองได้ หรือใครเห็นว่าสามารถประยุกต์แนวทางไปใช้กับการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ก็จะได้นำไปใช้กันครับ

Photo : freepik

Eplvs เครื่องชาร์จรถ EV เคลื่อนที่ได้

วันนี้ทีมงานขอนำเสนออุปกรณ์ที่คิดว่าเมื่อไหร่จะมีสักที ล่าสุดก็มีแล้วครับ กับเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่ได้ ซึ่งตอบโจทย์คนใช้รถไฟฟ้าได้อย่างแน่นอน แต่เดิมเวลาต้องชาร์จไฟแบบเร็วๆ ก็ต้องไปชาร์จตามปั๊มน้ำมัน หรือจุดให้บริการชาร์จรถไฟฟ้าแบบ DC ซึ่งเมื่อเรามีเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่ได้แล้ว ก็สามารถนำไปติดตั้งได้ตามต้องการ…

แบตเตอรี่เหลว (Liquid Metal Battery) อนาคตใหม่ของแบตรถ EV ดีกว่าลิเทียมไอออน

บทความนี้จะพาทุกท่านมารู้จักกับแบตเตอรี่แหลว หรือ Liquid Metal Battery ซึ่งเป็นนวตกรรมที่คาดว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการแบตเตอรี่กันเลยทีเดียว เพราะแบตเตอรี่เหลวนี้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าแบตเตอรี่ลิเทียม และยังมีความทนทานสูง อายุการใช้งานยาวนาน ซึ่งล่าสุดได้การรับรองความปลอดภัยจาก…

คาร์บอนเครดิตจากขยะในบ้าน สร้างรายได้ ช่วยลดโลกร้อน

ขยะในปัจจุบันมีปริมาณเพิ่นขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงขยะจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย แม้ว่าจะมีการพัฒนาวิธีแก้ไขปัญหาขยะมากอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ดูเหมือนว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในระยะสั้นๆ เท่านั้น หนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่นิยมมาก ก็คือ การแยกขยะก่อนทิ้งที่ช่วยให้การนำขยะไปรีไซเคิล และแยกไปทำลายได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้…

Leave a Reply