News & Update

“พาณิชย์”แนะผู้ผลิตสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์ เร่งส่งออกสหรัฐฯ หลังได้เว้นภาษี 2 ปี

“พาณิชย์”แจ้งข่าวดี ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลงนามคำสั่งให้ยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์จากอาเซียน 4 ประเทศ ไทย กัมพูชา มาเลเซีย และเวียดนาม เป็นระยะเวลา 24 เดือน เผยแจ้งให้ผู้ส่งออกรับทราบแล้ว และขอให้ใช้โอกาสนี้เร่งส่งออก ย้ำแม้สุดท้ายจะมีการประกาศใช้มาตรการ AC จะไม่ถูกเก็บภาษีในช่วงที่ยกเว้น หรือถูกเก็บย้อนหลัง
         
นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามออกประกาศคำสั่งให้ยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์จากประเทศภูมิภาคอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา มาเลเซีย และเวียดนาม เป็นระยะเวลา 24 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 6 มิ.ย.2565 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าภายในประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ซึ่งกรมฯ ได้แจ้งให้ผู้ส่งออกทราบเกี่ยวกับประกาศคำสั่งยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์ดังกล่าวแล้ว และขอให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทย ใช้โอกาสนี้ในการเร่งส่งออกสินค้าดังกล่าวต่อไป  
         
ทั้งนี้ แม้ว่าการนำเข้าสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์จาก 4 ประเทศข้างต้น จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าในช่วง 24 เดือน แต่การไต่สวนการหลบเลี่ยงมาตรการทุ่มตลาดและการอุดหนุน (Anti-Circumvention : AC) สำหรับสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่นำเข้าจากทั้ง 4 ประเทศข้างต้นยังคงดำเนินการต่อ โดยสหรัฐฯ ได้เปิดการไต่สวน AC ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2565 โดยกล่าวหาว่าสินค้าดังกล่าวที่ส่งออกจากทั้ง 4 ประเทศ เป็นสินค้าที่ใช้ชิ้นส่วนที่นำเข้าจากจีนมาประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปและส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพื่อหลบเลี่ยงมาตรการทุ่มตลาด (AD) และมาตรการอุดหนุน (CVD) ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการสอบถามข้อมูลจากผู้ส่งออกไทย

โดยตามขั้นตอน สหรัฐฯ จะต้องประกาศผลการไต่สวนภายในเดือนมี.ค.2566 หากผลการไต่สวนพบว่ามีการหลบเลี่ยงมาตรการ AD/CVD จริง ผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทยจะถูกเก็บภาษี AC ในอัตรา 18.32–249.96% เช่นเดียวกับภาษี AD ที่สหรัฐฯ เรียกเก็บจากจีน แต่ในช่วงที่มีการยกเว้นภาษีนำเข้าในช่วง 24 เดือนตามประกาศคำสั่ง จะยังไม่ถูกเก็บภาษี AC หรือเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง สำหรับการนำเข้าในช่วงที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศไว้
         
นายพิทักษ์กล่าวว่า ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามและให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตและผู้ส่งออกมาโดยตลอด โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มีหนังสือทักท้วงไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เมื่อเดือนมี.ค.2565 เพื่อคัดค้านการเปิดไต่สวนดังกล่าว และเน้นย้ำว่าการผลิตสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์ของไทยเป็นการนำชิ้นส่วนมาผ่านกระบวนการผลิตที่ทำให้สินค้ามีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปจากวัตถุดิบเดิม มิได้เป็นการนำเข้าชิ้นส่วนมาเพื่อประกอบแล้วส่งออกไปยังสหรัฐฯ เท่านั้น จึงไม่เข้าเกณฑ์การหลบเลี่ยงมาตรการ AD/CVD ที่สหรัฐฯ ใช้บังคับกับสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์จากจีน และได้มอบให้กรมฯ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยอย่างเต็มที่ โดยจัดประชุมหารือกับผู้ผลิต ผู้ส่งออกสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์ของไทยเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักการและกระบวนการไต่สวน
         
ในปี 2564 ไทยส่งออกสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์ไปสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 1,609.49 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 49.10% ของการส่งออกสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมด และในช่วงเดือนม.ค.-เม.ย.2565 ไทยส่งออกสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์ไปสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 325.06 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 63.49% ของการส่งออกสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมด

Source : Commerce News Agency

Tags:

Central Group กับ วิธีสร้างอาณาจักรธุรกิจ Net Zero ที่ครอบคลุมทุกมิติแห่งแรกของไทย ภายในปี 2050

อุณหภูมิโลกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละราว ๆ 0.6-0.9 องศาเซลเซียสและถ้าหากลองสังเกตช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เราเองเผชิญกับอากาศที่ร้อนขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงฝุ่นละอองในอากาศที่มหาศาล จนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  ปรากฎการณ์นี้กำลังเตือนว่าสุขภาพโลกใบนี้กำลังอ่อนแอลงจนทำให้เกิด…

‘ปตท.สผ.’ ลุย เทคโนโลยี CCS อาวุธลับ ‘ดักจับ-กักเก็บคาร์บอน’ สู่ Net Zero

จากการที่ประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP27) โดยมีเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net…

Leave a Reply